Page 371 - kpi17073
P. 371

370     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                         หากนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐชั้นผู้ใหญ่ สามารถน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจ
                  พอเพียงมาใช้เป็นวิถีชีวิต ก็จะสามารถลด “ความโลภ” ให้อยู่ในขอบเขตที่เป็นไปได้ ทำให้ดำรง

                  ชีวิตอยู่ในขอบเขตของความ “พอเพียง” ไม่มีความต้องการในสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม จึงไม่ใช้
                  อำนาจโดยมิชอบเพื่อตนเองและพวกพ้อง ประเทศไทยก็จะหยุดทุจริตได้สำเร็จ และ “ไม่ทุจริต
                  เสียเอง” ตามพระราชดำรัสที่นำมาเสนอข้างต้น


                     2) การสร้างธรรมาภิบาลในหน่วยงานของรัฐ


                         “ธรรมาภิบาล” หรือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นหลักการบริหารที่เน้น
                  กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งในการบริหารราชการแผ่นดินหมายถึง “ประชาชน”

                  จึงสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน และเป็นการลดการกระทำตามอำเภอใจ
                  (Arbitrary) หรือเผด็จการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นสาเหตุของการใช้อำนาจโดยมิชอบ กล่าวคือ
                  ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบธรรมเนียม และความถูกต้องเป็นธรรม อันเป็นต้นตอของ

                  การทุจริตคอร์รัปชั่นโดยตรง ถ้าสามารถนำธรรมาภิบาลมาใช้ได้และให้ผู้บริหารภาครัฐทุกระดับ
                  เป็นแบบอย่างในการเป็นคนดีมีคุณธรรมให้กับคนในองค์กรก็จะสามารถลดปัญหาเหล่านี้ไปได้มาก


                         ปัจจุบันระบบราชการมีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมือง

                  ที่ดี พ.ศ.2546 เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบราชการให้มีธรรมาภิบาล โดยกำหนดเป้าหมาย
                  “เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน” ด้วยการยึดหลักการบริหาร 6 ประการ คือ หลักนิติธรรม
                  หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า

                  แต่ยังไม่มีการนำไปสู่การปฏิบัติที่จริงจัง ระบบราชการของไทยจึงขาดความโปร่งใส ตรวจสอบได้
                  และไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการอย่างแท้จริง


                         สาเหตุสำคัญของการที่ไม่สามารถนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในระบบราชการได้ คือ
                  นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐยังหลงใหลในอำนาจรัฐที่ได้รับมอบจากประชาชน จึงไม่ยินยอม

                  เปิดโอกาสให้ประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินตกลงใจในการ
                  จัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่อย่างขาดแคลนและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การบริหารประเทศจึง
                  ขาดความโปร่งใสและไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบ จึงทำให้มีการทุจริต

                  คอร์รัปชั่นในวงราชการกันอย่างแพร่หลาย


                         ดังนั้น หากนำระบบธรรมาภิบาลหรือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ทั่วทั้งองค์กร
                  ในภาครัฐ และขยายผลสู่ทุกภาคส่วนของประเทศ จะมีส่วนในการลดการทุจริตประพฤติมิชอบลง

                  ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะมีความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดินและภาคประชาชน
                  สามารถตรวจสอบการดำเนินการภาครัฐได้ตลอดเวลา แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                  โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงยอมสละอำนาจการตัดสินตกลงใจในการบริหารประเทศและการตรวจ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
                  สอบให้กับประชาชนเท่านั้น
   366   367   368   369   370   371   372   373   374   375   376