Page 375 - kpi17073
P. 375
374 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
แข็งรู้บทบาทหน้าที่ และลงมือร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามสิทธิหน้าที่ที่บัญญัติไว้ใน
รัฐธรรมนูญจะมีส่วนอย่างมากในการลดโอกาสที่จะคอร์รัปชันของบรรดานักการเมือง ข้าราชการ
และเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งหลาย
การป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันเพื่อให้อยู่ในวงอันจำกัด เพื่อไม่ให้เกิดเกิดความ
เสียหายอย่างรุนแรงแก่สังคม ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยากเกินไปจนไม่สามารถทำได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย
ที่จะทำให้เห็นผลเป็นรูปธรรมภายในชั่วระยะเวลาสั้นๆ จำเป็นต้องใช้เวลาและกลยุทธ์ที่หลาก
หลาย รวมถึงต้องทำความเข้าใจในบริบทต่างๆที่เกี่ยวกับการคอร์รัปชัน เพื่อหาแนวทางในการ
ป้องกันปราบปรามอย่างได้ผล 1
1. สาเหตุของการคอร์รัปชัน
สาเหตุของการคอร์รัปชัน แบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
1.1 เกิดจากพฤติกรรมความโลภ เป็นสาเหตุที่มาจากพฤติกรรมส่วนบุคคล ที่มาจากความ
โลภ ความไม่เพียงพอโดยสรุปสาเหตุได้ดังนี้
- พฤติกรรมส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐที่ขาดหลักยึดด้านคุณธรรม จนกลายเป็น
คนที่เห็นแก่ได้ มีความอยากและความไม่รู้จักเพียงพอ
- การขาดปทัสฐาน (Norm) ของความเป็นบุคคลสาธารณะ (Public persons)
ที่ต้องยึดหลักความเป็นกลาง และความเป็นธรรมเป็นที่ตั้ง ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของ
นักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐสมัยใหม่ เป็นต้น
1.2 เกิดจากการมีโอกาสหรือการที่ระบบการทำงานมีช่องทางให้คอร์รัปชัน เป็นสาเหตุที่
มาจากระบบการทำงานมีช่องทางให้คอร์รัปชัน และหรือการที่ขาดระบบการควบคุม และหรือการ
ตรวจสอบที่ไม่รัดกุม โดยสรุปสาเหตุได้ดังนี้
- การขาดความรู้ ความเข้าใจผิด หรือถูกใช้
- ความเคยชินของเจ้าหน้าที่ที่คุ้นเคยกับการที่จะได้ “ค่าน้ำร้อนน้ำชา”
- การถูกบังคับให้รับตามบรรทัดฐานของกลุ่ม
- อาศัยช่องว่างของระเบียบและกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามกฎและระเบียบ
- การคอร์รัปชันตามระบบ (Systemic) ด้านงบประมาณ การเงินการคลังและการ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 1 ปรับปรุงจากข้อเสนอความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมสมัชชาประชาชนต้านคอร์รัปชันเนื่องในวันต่อต้าน
จัดซื้อจัดจ้าง
คอร์รัปชั่นสากลปี 2554 เมื่อ 30 มกราคม 2555