Page 370 - kpi17073
P. 370

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   369


                      แนวคิดในการแก้ไขปัญหาการทุจริต



                            จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า “คน” เป็นปัจจัยสำคัญในการก่อให้เกิดการทุจริต
                      คอร์รัปชั่นซึ่งเป็นสิ่งเลวร้ายต่อประเทศชาติและสังคม โดยเฉพาะ “ไตรภาคี” ของการทุจริต

                      คอร์รัปชั่น ได้แก่ นักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายประจำ และนักธุรกิจ ซึ่งขาดคุณธรรม ไม่
                      สามารถควบคุมกิเลส “ความโลภ” ของตนเองได้ ยอมสูญเสีย “ความเป็นมนุษย์” ด้วยการใช้
                      อำนาจรัฐที่ได้รับมอบจากประชาชนเอาเปรียบและเบียดเบียนประชาชนเอง โดยกระทำการทุจริต

                      คอร์รัปชั่น จึงสมควรสร้างวัฒนธรรมความซื่อตรงในสังคมไทยโดยเร็ว ตามแนวทางดังต่อไปนี้

                         1) น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นวิถีชีวิต


                              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้ว่าราชการจังหวัด

                      แบบบูรณาการในโอกาสเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณตน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2546 ความว่า

                              “...ภายใน 10 ปี เมืองไทยน่าจะเจริญ ข้อสำคัญคือ ต้องหยุดทุจริตให้สำเร็จ และ

                      ไม่ทุจริตเสียเอง...”


                              ขณะเดียวกัน สื่อต่างประเทศได้เสนอข่าวยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับ
                      ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์พระราชทานว่า


                             “The King gave an example of the high scale corruption emanating from
                      this concept, citing the greed of employees of such companies as Enron and

                      WorldCom in the United States…”


                              จากพระราชดำรัสและความเห็นของสื่อต่างประเทศ ทำให้เห็นแนวคิดเบื้องต้นของการ
                      แก้ไขปัญหาการทุจริตว่า รากเหง้าของปัญหาอยู่ที่ “ความโลภ” ของบุคคล โดยเฉพาะในยุค
                      ทุนนิยมในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำให้เกิดลัทธิบริโภคนิยม จึงมีผลให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีความ

                      ต้องการเงินเพื่อไปซื้อหาสิ่งที่ปรารถนาตามกิเลศที่มีมากขึ้น จนสูญเสีย “ความดี” ที่เคยทำมา
                      ทำให้มีผู้ให้ความเห็นว่า


                              “เงินตราไม่ได้เปลี่ยนแปลงคน เพียงแต่มันกระชากหน้ากากในคราบ “คนดี” ออกมา
                      เท่านั้น เมื่อหน้ากากหลุด ก็จะเห็น “หัวใจ” ที่เต็มไปด้วยความโลภซ่อนอยู่ภายใน”


                              ถ้าย้อนกลับไปเมื่อปี 2527 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานปรัชญา

                      เศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่กับทฤษฎีใหม่ หลายคนเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่เหมาะกับเกษตรกร แต่เมื่อเกิด
                      วิกฤติเศรษฐกิจในปี 40 จึงได้มีการอธิบายว่า หลักการสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมี
                      3 ประการ คือ “พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน” โดยมี 2 เงื่อนไข คือ ความรู้ควบคู่คุณธรรม

                      ซึ่งคุณธรรมที่สำคัญ คือ “ซื่อสัตย์สุจริต อดทน อดกลั้น อดออม” ทำให้ปวงชนชาวไทยมีความ
                      เข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น                                                                           การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
   365   366   367   368   369   370   371   372   373   374   375