Page 366 - kpi17073
P. 366
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 365
ประการสุดท้าย การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรม ส่วนใหญ่
ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ จึงมีผลให้หลายคนที่มี “มลทิน” เข้ามาดำรงตำแหน่งที่ใช้อำนาจรัฐ โดย
เฉพาะผู้ที่มาจากฝ่ายการเมือง คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา นักการเมืองท้องถิ่น
และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ความจริงหลักการนี้ เป็นพื้นฐานของการรับคนเข้ามาทำงาน “ต้อง” มีใบรับรองความ
ประพฤติ เพื่อประกอบการพิจารณารับเข้าทำงาน
แต่นักการเมืองส่วนใหญ่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน ซึ่งเชื่อว่าประชาชนเลือกโดยไม่
ได้ศึกษาให้ลึกซึ้งถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมในหนหลัง จึงทำให้คนที่เคยมีประวัติทุจริตต่อหน้าที่
และบกพร่องทางจริยธรรม สามารถเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง และบางคนได้เป็นถึง
“รัฐมนตรี”
สำหรับวิธีการตรวจสอบพฤติกรรมทางจริยธรรมในอดีตนี้ สามารถกระทำได้โดยมอบให้
พรรคการเมืองในฐานะ “สถาบันทางการเมือง” เป็นผู้รับผิดชอบตามหลัก “พรรคเลือกคน
ประชาชนเลือกพรรค” โดยพรรคการเมืองแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประพฤติ ความ
ประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม เช่นเดียวกับที่วุฒิสภาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 2550
มาตรา 121 ซึ่งได้ผลดีมาโดยตลอด หากภายหลังพบว่า คนที่พรรคการเมืองส่งมาให้ประชาชน
เลือกตั้งมีความบกพร่องในพฤติกรรมทางจริยธรรมในอดีต กรรมการบริหารพรรคการเมืองต้อง
รับผิดชอบ ด้วยการลาออกและยุติบทบาททางการเมือง อย่างน้อย 5 ปี
ส่วนบุคคลที่ไม่มีองค์กรรับรองในการเสนอชื่อให้ประชาชนเลือกตั้ง อาจใช้วิธีรับรองความ
ประพฤติตามที่ระบุในมาตรฐานทางจริยธรรมของตำแหน่งที่ตนสมัครด้วยตนเอง หากพบภายหลัง
ว่าปกปิดความบกพร่องทางจริยธรรม ควรมีบทลงโทษห้ามดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐตลอด
ชีวิต
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า มาตรฐานทางจริยธรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับผู้เข้ามาใช้
อำนาจรัฐ เพราะถ้าได้คนไม่ดีเข้ามาใช้อำนาจรัฐ ก็จะเข้ามาละเมิดสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน
ทำให้ประชาชน “เดือดร้อน” ดังนั้น รัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญกับ คุณธรรม จริยธรรม และ
ธรรมาภิบาล อย่างจริงจัง โดยให้ “มาตรฐานทางจริยธรรม” เป็นหัวข้อหนึ่งที่ต้องปฏิรูปให้เกิด
ผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง
การสร้างสังคมคุณธรรม
“คุณธรรม” เป็นคุณงามความดีที่ถูกปลูกฝังเข้าไปในจิตใจของคนเพื่อให้มีสติระลึกได้ว่า
สิ่งใดดี ควรทำ สิ่งใดไม่ดี ไม่ควรทำ โดยยึดถือ“ประโยชน์สุข”ของคนในสังคมส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์
กำหนด จึงสามารถสร้างความสงบสุขให้กับสังคมนั้นได้ เพราะทุกคนรู้ สิทธิ หน้าที่ และความ
รับผิดชอบต่อสังคม ทำให้ไม่กระทำในสิ่งที่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นเพื่อประโยชน์ของตน การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4