Page 361 - kpi17073
P. 361

360     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ได้ที่มีในตัวบุคคลผู้นั้น ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น จึงไม่ต้องออกกฎหมายมาควบคุมความประพฤติ
                  ของคนในสังคมมากนัก


                       ในทางตรงกันข้าม ถ้าสังคมใดมีคนที่ควบคุมกิเลสในตนเองไม่ได้เป็นจำนวนมาก จึงมีกรณี
                  การละเมิดสิทธิผู้อื่นมาก ผู้มีอำนาจในสังคมจึงจำเป็นต้องออกกฎหมายมาบังคับให้คนทำตาม

                  บรรทัดฐานของสังคม เพื่อจำกัดพฤติกรรมของบุคคลผู้นั้นมิให้ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น โดยกำหนด
                  บทลงโทษเพื่อให้หลาบจำ


                       จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า กลไกทางสังคมที่ควบคุมคนในสังคมเพื่อมิให้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
                  ตาม “อำเภอใจ” คือ กฎ กติกาและมารยาทของสังคมที่กำหนดขึ้น เพื่อเป็น “บรรทัดฐาน”

                  (Norms) ของสังคม


                       “องค์กร” ในฐานะสังคมลักษณะหนึ่ง ได้นำแนวคิดนี้มากำหนดเป็น “จรรยาบรรณ” (Code
                  of Ethics) เพื่อแนะนำหรือตักเตือนให้คนในสังคมนั้นๆ ปฏิบัติตนแต่ในสิ่งที่ดีงามสร้างความสงบ
                  สุขให้สังคม หากมีการละเมิดก็จะมีบทลงโทษทางสังคม ซึ่งโทษสูงสุด คือ ถูกขับออกจากองค์กร

                  หรือสังคมนั้น และกำหนดให้มี “วินัย”(Discipline) เพื่อบังคับให้คนในองค์การปฏิบัติตามกฎ
                  ระเบียบ ข้อบังคับที่ผู้รับผิดชอบกำหนดขึ้น หากไม่กระทำตามนั้นก็จะถูกลงทัณฑ์ตามที่กำหนด


                       “จรรยาบรรณ” และ “วินัย” นี้ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ ก.พ. ได้นำมาใช้ในการ

                  ควบคุมความประพฤติของข้าราชการพลเรือน โดยกำหนดเป็นข้อบังคับ ก.พ. ตั้งแต่ 9 มีนาคม
                  2537 และให้ความหมายของ “จรรยาบรรณ” ว่า


                       “ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่ง
                  เสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้”


                       ต่อมานักวิชาการมีความเห็นว่า ควรนำ “จรรยาบรรณ” เพื่อแนะนำให้คนทำดี มารวบรวม
                  ไว้ควบคู่กับกฎ ระเบียบหรือ “วินัย” เป็นเอกสารที่เรียกว่า “Code of Conducts” โดยระบุ

                  บรรทัดฐานของสังคมนั้น ทั้ง “สิ่งดีต้องทำและสิ่งไม่ดีห้ามทำ” (Do & Don’t) หากไม่ทำตามนั้น
                  จะถูกลงโทษและลงทัณฑ์จากสังคม


                       นอกจากนั้น ได้แนะนำให้กำหนด “ระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำ” รวมถึงบทลงโทษ
                  เพื่อให้บุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลจริยธรรม ระมัดระวังไม่ฝ่าฝืนกระทำตามที่ประมวล

                  จริยธรรมกำหนด


                       “Code of Conducts” แปลตามพจนานุกรมได้ว่า “การรวบรวมกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับ
                  ความประพฤติ” ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 ได้นำมาบัญญัติเป็นศัพท์ใหม่ว่า
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4   แต่ละประเภท ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น”
                  “ประมวลจริยธรรม” ไว้ในมาตรา 279 วรรคหนึ่ง ความว่า

                       “มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
   356   357   358   359   360   361   362   363   364   365   366