Page 363 - kpi17073
P. 363
362 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ถ้าเป็นไปตามแนวคิดนี้ องค์กรอาจกำหนดว่า การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทาง
จริยธรรมในขั้น “จักต้อง” และ “ต้อง” เป็นระดับร้ายแรงที่ต้องดำเนินการถอดถอนหรือให้ออก
จากองค์กร
ส่วนการฝ่าฝืนระดับ “ควร” อาจกำหนดให้ต้องดำเนินการทางวินัย และ “พึง” อาจถูก
ตักเตือน เพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
อย่างไรก็ดี มาตรฐานทางจริยธรรมที่กำหนดขึ้น บางเรื่องไม่สามารถกำหนดให้ชัดเจนเป็น
รูปธรรมได้ วุฒิสภาอังกฤษจึงออกคู่มือที่เรียกว่า “Guide to Code of Conducts” โดย
ยกตัวอย่างประกอบการตัดสินใจและแนะนำแนวทางการตัดสินใจในบางกรณีที่เป็น “ทาง
สองแพร่ง” แห่งคุณงามความดี (Dilemma)
เช่น หากท่านได้รับเชิญจากบริษัทคู่สัญญาขององค์กรเชิญไปดูงานต่างประเทศหรือ
เล่นกอล์ฟ ท่านควรใช้ดุลยพินิจตัดสินใจอย่างไร ซึ่งจะแนะนำง่ายๆว่า ให้ท่านถามตนเองว่า
“ถ้าไม่อยู่ในตำแหน่งนี้เขาจะเชิญหรือไม่” หากตอบว่า “ไม่” ก็ต้องปฏิเสธ เป็นต้น
ปัจจุบัน “ประมวลจริยธรรม” เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดระดับความเชื่อถือศรัทธาและความ
ไว้วางใจของสาธารณชนทั่วโลก โดยมีการศึกษาเป็น “ศาสตร์” ที่ต้องเรียนรู้ถึงกระบวนการ
กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมมากขึ้น
ดังนั้น ผู้รับผิดชอบหน่วยงานของรัฐ จึงต้องให้ความสนใจและเรียนรู้วิธีการเขียนที่ถูกต้อง
และจัดทำประมวลจริยธรรมของทุกหน่วยงานของรัฐให้เป็น “คู่มือหรือคำแนะนำ” ในการ
ประพฤติปฏิบัติตนของคนในองค์กร เพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือศรัทธาของบุคคล
ทั่วไป โดยเฉพาะบุคคลสำคัญที่สุดในชีวิตของเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ “ประชาชน” ผู้เป็นนายของ
เจ้าหน้าที่ของรัฐที่แท้จริง
มาตรฐานทางจริยธรรม
ตั้งแต่สงครามเย็นยุติลง กรอบความคิดของงานด้านความมั่นคง ได้ขยายขอบเขตจากความ
มั่นคงของประเทศมาเป็น “ความมั่นคงของมนุษย์” (Human Security) โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ
และสิทธิมนุษยชน
จากกรอบความคิดนี้ ทำให้พบว่า ภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติที่ร้ายแรงที่สุด คือ การ
กระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจรัฐซึ่งได้รับมอบ ละเมิดสิทธิของประชาชนในรูปแบบต่างๆ
ตั้งแต่การทุจริตคอร์รัปชั่น การฉ้อราษฎร์บังหลวง ไปจนถึงการไม่ให้บริการตามหน้าที่และการใช้
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 “ขุนนาง” ที่มักแสดงตนเป็นใหญ่เหนือประชาชน และแสวงหาประโยชน์จากอำนาจรัฐที่ได้รับมอบ
กำลังทำร้ายประชาชน
ประเทศไทยของเราเองพบว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ส่วนใหญ่ยังติดกับกรอบความคิด