Page 365 - kpi17073
P. 365
364 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ทุจริตโครงการรับจำนำข้าว การร่ำรวยผิดปกติ ฯลฯ ล้วนมีสาเหตุมาจาก “การประพฤติมิชอบ”
ของเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งสิ้น จึงสะท้อนให้เห็นว่า มาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่
รัฐธรรมนูญบัญญัติ “ยังไม่เกิดขึ้น”
คำว่า “มาตรฐาน” ในเชิงบริหารหมายถึง คุณภาพที่ต้องการ เมื่อนำมาสมาสกับคำว่า
“จริยธรรม” ที่หมายถึง แนวทางความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม หรือ
การรู้จักไตร่ตรองว่า อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ดังนั้น “มาตรฐานทางจริยธรรม” จึงหมายถึง
“คุณภาพของความประพฤติที่ดีงาม ซึ่งวัดได้จากความสามารถในการไตรตรองว่า อะไรควรทำ
อะไรไม่ควรทำ” และเป็นที่มาของ “ประมวลจริยธรรม”
ส่วน “มาตรฐานทางคุณธรรม” หมายถึง คุณภาพความดีงามในจิตใจซึ่งมีความเคยชินใน
การทำความดีจนเป็นธรรมชาติ ซึ่งวัดได้ยากเพราะ “จิตมนุษย์นั้นไซ้ยากแท้หยั่งถึง” ถ้าจะวัดกัน
จริงๆ ก็พอจะสังเกตได้จากความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และลักษณะของคนที่มีคุณธรรม
จะแสดงถึง การไม่มีความทุกข์จากกิเลส “รัก โลภ โกรธ หลง” ทำให้มีอารมณ์ดี หน้าตาแจ่มใส
มีสุขภาพจิตดี แต่ต้องใช้ “ดุลยพินิจ” ประเมิน ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันทำให้ไม่เป็นธรรม
อาจเป็นด้วยเหตุนี้ รัฐธรรมนูญ ปี 2550 จึงแก้ไขบทบัญญัติจากมาตรฐานทางคุณธรรมและ
จริยธรรม เหลือเพียง “มาตรฐานทางจริยธรรม” ที่มีความชัดเจนกว่าและสามารถวัดได้อย่างเป็น
รูปธรรม
อย่างไรก็ดี เมื่อตรวจสอบการนำรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาปฏิบัติ พบว่า ทุกหน่วยงานของ
รัฐและรัฐวิสาหกิจมีประมวลจริยธรรมครบถ้วน แต่สาระของมาตรฐานทางจริยธรรมยังมีความ
แตกต่างกัน โดยเฉพาะ “นักการเมือง” ระดับชาติที่มี 3 ประเภท ได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒิสภา และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่มี 3 ฉบับที่มีสาระต่างกัน จึงไม่เป็น
“มาตรฐานเดียวกัน” ส่วนนักการเมืองท้องถิ่นก็เช่นเดียวกัน มีเกือบ 7,000 หน่วย ต่างคนต่างเขียน
จึงไม่มีมาตรฐาน
ในเรื่องนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการกำหนด “มาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมือง” และมี
สภาวิชาชีพ ซึ่งอาจเป็นรัฐสภาหรือสภาพัฒนาการเมือง เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติอย่างจริงจัง เช่น
เดียวกับ “มารยาททนายความ” ที่มีสภาทนายความเป็นผู้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ และลงโทษ
เมื่อมีการฝ่าฝืน
นอกจากนั้น ประมวลจริยธรรมทุกฉบับ ไม่ระบุ“ความร้ายแรงแห่งการกระทำ” และกำหนด
บทลงโทษไว้ ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ จึงทำให้มาตรฐานทางจริยธรรมที่เขียนไว้เปรียบเสมือน
“คัมภีร์” ที่อยู่บนหิ้ง ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ที่มีผลบังคับใช้ โดยจะสังเกตได้ว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ผู้ใดถูกลงโทษทางจริยธรรมเลย
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมที่ชัดเจนและมีบทลงโทษ เมื่อมีการเสนอญัตติแก้ไขให้เป็นไปตาม
แม้แต่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาที่เป็นแบบอย่างในฐานะ “ตัวแทนประชาชน” ก็มิได้
รัฐธรรมนูญ สมาชิกบางท่านได้อภิปรายในสภาว่า “อย่าเอากระดิ่งมาผูกคอแมว” เลย และ
ในที่สุดเสียงข้างมากลงมติไม่เห็นด้วย ญัตตินี้จึงตกไป