Page 369 - kpi17073
P. 369

368     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       บางพฤติกรรมเป็นสิ่งที่พลั้งเผลอได้ง่าย คือ การใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ เช่น ไอ้ อี มัน ฯลฯ
                  ซึ่งชนชั้นนำเผลอพูด จนกลายเป็นภาษานิยมใช้กันได้แม้กระทั่งในรัฐสภา หรือบางครั้งใช้คำที่มี

                  สองความหมาย เช่น เอาอยู่  ซึ่งเมื่อสื่อนำไปเผยแพร่ต่อในลักษณะล้อเลียน ทำให้เด็กและ
                  เยาวชนยุคหลังๆ ไม่ทราบว่า คำเหล่านี้เป็นคำที่ไม่สุภาพ เพราะผู้ใหญ่ใช้กันจนคุ้นชิน และ
                  เผยแพร่ทางสื่อมวลชนจนเห็นว่า เป็นเรื่อง “ธรรมดา” ดังนั้น ผู้พูดต้องระมัดระวังมากขึ้น และ

                  สื่อมวลชนต้องช่วยกันกลั่นกรองไม่เผยแพร่ต่อ


                       นอกจากนั้น อากัปกิริยาการพูดที่มีลีลาแสดงอารมณ์รุนแรงซึ่งเรียกว่า “มีสีสัน” โดยเฉพาะ
                  ในรัฐสภาที่มีการถ่ายทอดไปทั่วประเทศ  บางครั้งก่อให้เกิดอารมณ์โกรธ ทั้งผู้พูดกับผู้ได้รับ
                  ผลกระทบจากคำพูด จนกลายเป็น “วิวาทะ” แสดงพฤติกรรมที่ไม่งดงามอันเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี

                  ให้กับเด็กและเยาวชนจดจำ นำไปใช้ หรือละครสะท้อนสังคมที่เรียกว่า ละครน้ำเน่าซึ่งแพร่ภาพ
                  ทางโทรทัศน์ ก็ทำให้เด็กเลียนแบบในสิ่งไม่ดีได้เช่นกัน


                       ลักษณะนิสัยบางอย่างที่ลูกซึมซับจากพ่อแม่ได้ง่ายที่สุด คือ อบายมุข จะสังเกตได้ว่า ถ้าพ่อ
                  ดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ลูกก็จะคุ้นชินว่าเป็นเรื่องธรรมดา หรือพ่อแม่เล่นการพนัน ลูกก็จะคุ้นชินและ

                  รับมรดกนักพนันมาด้วย


                       นอกจากนั้น เมื่อโลกปัจจุบันหมุนมาสู่ยุคโลกาภิวัตน์ที่ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่เข้าสู่
                  ประสาททั้ง 6 ของมนุษย์ได้ง่าย ทำให้เกิดการแพร่กระจายของวัฒนธรรมข้ามชาติมากมาย ทำให้
                  มีการเลียนแบบ จนทำให้พฤติกรรมอันดีงามของสังคมไทยที่มีมาตั้งแต่ในอดีตได้ถูกทำลายไปมาก

                  เช่น ความเมตตา การให้อภัยกัน ความเกรงใจไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น อัธยาศัยไมตรีอันดีงาม ความ
                  สุภาพอ่อนน้อม และมารยาทตามสมบัติผู้ดี จึงมีความจำเป็นที่สังคมต้องสร้างภูมิต้านทานให้กับ

                  เด็กซึ่งมีวุฒิภาวะทางสังคมที่อ่อนด้อย มากขึ้น


                       ในอดีตมีการสอนสมบัติผู้ดีควบคู่กับหนังสือมารยาทตั้งแต่ระดับประถม หากยังมีการเรียน
                  การสอนเรื่องนี้อยู่ ก็จะเป็นสิ่งดี เพราะมีครูและพ่อแม่เป็นแบบอย่าง “ทำตามที่สอน” สังคมไทย
                  ก็จะดีขึ้น ขณะเดียวกัน ควรนำสาระของหนังสือเหล่านี้ใส่ไว้ในประมวลจริยธรรมของทุกหน่วยงาน

                  ของรัฐและภาคเอกชน เพื่อแนะนำและเตือนสติให้ผู้ใหญ่ในสังคมประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง
                  ที่ดีของเด็ก


                       จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า การสร้างสังคมคุณธรรม “ง่ายนิดเดียว” ถ้าผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดี
                  ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคมที่ร่วมกันกำหนด เพื่อให้สิ่งที่ดีงามของสังคม

                  ไทยซึมซับเข้าสู่เซลล์กระจกเงาของเด็ก และประพฤติปฏิบัติตาม อันจะเป็นการกล่อมเกลาทาง
                  สังคมจนเกิด “สังคมคุณธรรม” ที่สร้างประโยชน์สุขให้แก่คนในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน


        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373   374