Page 374 - kpi17073
P. 374

การปราบปรามการทุจริต


                            นายวีระ  สมความคิด*










                                  “คอร์รัปชัน” เป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
                            สังคม การเมืองตลอดจนความเชื่อมั่นระหว่างประเทศ เป็นปัญหาที่สังคมไทย

                            ต้องเผชิญมาทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน และนับจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดย
                            เฉพาะอย่างยิ่งการเสื่อมถอยทางศีลธรรม การยอมรับนับถือคนรวยมากกว่าคน
                            ดี ไม่ว่าผู้นั้นจะร่ำรวยมาจากการคอร์รัปชันก็ตาม จนนำมาสู่การขัดแย้งทาง

                            ความคิดในทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อค่านิยมอันดีงามของสังคม โครงสร้าง
                            ทางสังคม ตลอดจนความเสียหายเศรษฐกิจอย่างมากมายมหาศาล


                                  ทุกประเทศรวมถึงประเทศไทยล้วนมีมาตรการในการป้องกันและปราบ
                            ปรามการคอร์รัปชัน ในหลายประเทศ ถือเป็นวาระสำคัญแห่งชาติที่จะหาวิธี

                            ป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลร่วมกัน
                            สำหรับประเทศไทยในขณะนี้ได้มีการหยิบยกประเด็นการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน
                            เป็นหัวข้อสำคัญหัวข้อหนึ่งเพื่อการปฏิรูประเทศ


                                  ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการ และ

                            ภาคประชาชน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการยับยั้ง และป้องกันปราบปราม
                            คอร์รัปชัน สำหรับภาคประชาชนมีความจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการ

                            ป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน โดยเฉพาะบทบาทในการดูแล สอดส่อง
                            เฝ้าระวัง เนื่องจากมีจำนวนประชากรมากกว่าภาคส่วนอื่นๆ หากประชาชนเข้ม


                              *  เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.)
                                   เครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.) ชื่อภาษาอังกฤษว่า People Network
                            Against Corruption และชื่อย่อว่า PNAC จัดตั้งและเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27
                            กรกฎาคม 2554 เป็นองค์กรภาคประชาชนที่ดำเนินงานโดยไม่หวังผลกำไร (NPO : Non
                            Profitable Organization) มีลักษณะเป็นสถาบันนอกระบบราชการ เป็นองค์กรที่รวมตัวกันขึ้น
                            จากหลายกลุ่มวิชาชีพ กลุ่มศึกษา กลุ่มผู้สนใจ ตลอดจนกลุ่มที่มีเป้าหมายร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อที่จะ
                            ดำเนินบทบาทในการช่วยเหลือและช่วยคลี่คลายปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย โดย
                            เริ่มต้นจากเวทีข่ายประชาสังคม ใน พ.ศ. 2543 – 2544 ภายใต้แนวคิด การพัฒนาประเทศ
                            ด้วยกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม สืบเนื่องจากร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                            ฉบับที่ 8 ที่เปลี่ยนแปลงจากการให้ความสำคัญของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจมาเป็นการพัฒนา

                            ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
   369   370   371   372   373   374   375   376   377   378   379