Page 378 - kpi17073
P. 378

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   377


                      2. รูปแบบของการคอร์รัปชันภาครัฐในสังคมไทย



                            รูปแบบของการคอร์รัปชันภาครัฐในสังคมไทย มีหลากหลายรูปแบบ สามารถสรุปได้
                      13 รูปแบบ ดังนี้


                            2.1 การคอร์รัปชันเชิงนโยบาย เป็นรูปแบบใหม่ของการทุจริตที่แยบยล โดยอาศัยรูปแบบ
                      ของกฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการเป็นเครื่องมือในการแสวงหา

                      ผลประโยชน์ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องชอบธรรม


                            2.2 การคอร์รัปชันในการบริหารราชการแผ่นดิน  เป็นลักษณะการใช้อำนาจและหน้าที่ใน
                      ความรับผิดชอบของตนในฐานะของเจ้าหน้าที่ของรัฐเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนหรือบุคคลใดบุคคล
                      หนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง


                            2.3 การคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้าง จะพบได้ทั้งในรูปของการฮั้ว ตั้งแต่ขั้นตอนการ

                      ออกแบบ กำหนดรายละเอียดหรือสเป็คของงาน กำหนดเงื่อนไข คำนวณราคากลางออกประกาศ
                      ประกวดราคา การขายแบบ การรับและเปิดซอง การประกาศผล การอนุมัติ การทำสัญญาทุก

                      ขั้นตอนของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างล้วนมีช่องโหว่ให้มีการทุจริตกันได้อย่างง่ายๆ

                            2.4 การคอร์รัปชันในการให้สัมปทาน เป็นลักษณะการแสวงหาหรือเอื้อประโยชน์โดยมิชอบ

                      จากโครงการหรือกิจการของรัฐ ซึ่งรัฐได้อนุญาตหรือมอบให้เอกชนดำเนินการแทนให้ลักษณะ
                      สัมปทานผูกขาดในกิจการใดกิจการหนึ่ง


                            2.5 การคอร์รัปชันที่เกิดจากการขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น ระบบการควบคุม
                      ที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีระบบการควบคุมที่ไม่เพียงพอ รวมถึงไม่มีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด

                      จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อีกทั้งองค์กรมีการกระจายการปฏิบัติงานไปตามพื้นที่ต่างๆ อย่างกว้างขวาง
                      ทำให้การกำกับดูแลควบคุมการปฏิบัติงานไม่ทั่วถึงทำให้เปิดโอกาสในการกระทำผิดได้โดยง่าย


                            2.6 การคอร์รัปชันโดยการทำลายระบบตรวจสอบอำนาจรัฐ มีลักษณะเป็นการพยายาม
                      ดำเนินการให้ได้บุคคลซึ่งมีสายสัมพันธ์กับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในอันที่จะเข้าไปดำรง

                      ตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่น
                      คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นต้น
                      ทำให้องค์กรเหล่านี้มีความอ่อนแอ ไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ


                            2.7 การมีผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นการคอร์รัปชันที่บุคคลในฐานะข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่

                      ของรัฐ ใช้ตำแหน่งหรืออำนาจหน้าที่ในการแสวงหาประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้องที่ส่ง
                      ผลกระทบที่เสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ


                            2.8 การคอร์รัปชันโดยการปกปิดการบริหารงานที่ไม่ถูกต้อง การปิดบังข้อมูลและให้การ
                      เท็จ                                                                                               การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
   373   374   375   376   377   378   379   380   381   382   383