Page 381 - kpi17073
P. 381
380 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
5. การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน
สหประชาชาติได้ออกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003
(United Nations Convention Against Corruption 2003 : UNCAC) อย่างเป็นทางการ ซึ่ง
เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการคอร์รัปชัน ถือเป็นอนุสัญญาต่อต้าน
การทุจริตระหว่างประเทศฉบับแรกที่ครอบคลุมประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยมีสาระสำคัญสำหรับ
ความร่วมมือตามอนุสัญญาฯ ดังนี้ 1) การกำหนดบทบัญญัติของอนุสัญญาฯ ไม่ได้กล่าวถึง
การทุจริตในรูปแบบที่ทราบกันอยู่ทั่วไปเท่านั้น เช่น การให้สินบนและการยักยอกทรัพย์สินของรัฐ
แต่ยังรวมถึงการกระทำที่สนับสนุนการทุจริต การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม การใช้อิทธิพล
การปกปิดและฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทำผิด นอกจากนั้นได้กล่าวถึงมาตรการในการจัดการ
กับการทุจริตในภาคเอกชนด้วย 2) การกำหนดความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินงาน
ทุกด้านที่เกี่ยวกับการทุจริตที่รวมถึงการป้องกัน สืบสวน สอบสวน การฟ้องคดี การยึดและคืน
ทรัพย์สินจากการกระทำมิชอบ โดยกำหนดให้รัฐภาคีกำหนดรูปแบบความร่วมมือทางกฎหมาย
ซึ่งกันและกัน สำหรับการรวบรวมและส่งพยานหลักฐาน การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การติดตาม
การอายัด ยึด และริบทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริต 3) การกำหนดการติดตามสินทรัพย์คืน โดย
เป็นความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือในการคืนทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดให้แก่รัฐภาคี
ที่ร้องขอ และ 4) การช่วยเหลือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร โดยมีมาตรการ
สำหรับการฝึกอบรม วิจัย และการแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งความช่วยเหลือแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ซึ่งกันและกันตลอดจนประสานกับองค์การระหว่างประเทศในเรื่องดังกล่าวด้วย
องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ มีพยายามสร้างเครื่องมือวัดคอร์รัปชันในระดับสากล และ
มุ่งพัฒนาเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมกันต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมความโปร่งใส
โดยเครื่องมือระดับสากลที่เป็นที่ยอมรับ ได้แก่
5.1 ดัชนีวัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perception Index, CPI) ดัชนีชี้วัด
ภาพลักษณ์ปัญหาคอร์รัปชันของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่มีค่าคะแนน 0 หมายถึงมีคอร์รัปชัน
มากที่สุด ถึงคะแนน 10 หมายถึงมีคอร์รัปชันน้อยที่สุด จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใส
นานาชาติ (Transparency International) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระนานาชาติที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์
แก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน เริ่มจัดทำตั้งแต่ พ.ศ. 2538 (องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย,
2554)
5.2 ดัชนีชี้วัดการต่อต้านคอร์รัปชันด้านการป้องกันประเทศ (Government Defense Anti-
Corruption Index หรือ ดัชนี GI) หรือดัชนีชี้วัดการต่อต้านคอร์รัปชันด้านการป้องกันประเทศ
จัดทำขึ้นโดยองค์กรความโปร่งใสสากล สาขาประเทศอังกฤษ (Transparency International UK)
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงกลาโหมหลายประเทศ ครอบคลุมความเสี่ยง 5 ด้าน ที่อาจเกิด
เริ่มต้นทำตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 และเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2013 โดยในส่วนการสำรวจความเห็นของ
การคอร์รัปชันได้ในแวดวงกลาโหม ได้แก่ ความเสี่ยงด้านการเมือง ความเสี่ยงด้านการเงิน ความ
เสี่ยงด้านบุคลากร ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และความเสี่ยงด้านการจัดซื้อจัดจ้าง และแบ่ง