Page 382 - kpi17073
P. 382
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 381
ผลสำรวจเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ A คือมีความเสี่ยงต่ำมาก B มีความเสี่ยงต่ำ C มีความเสี่ยง
ปานกลาง D มีความเสี่ยงสูง และไล่ระดับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจนไปถึง F ที่มีความเสี่ยงต่อการ
คอร์รัปชันเข้าขั้นวิกฤติ (ไทยพับลิก้า, 2556)
5.3. การประเมินความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ที่
บริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเมือง หรือเพิร์ก (Political & Economic Rick
Consulting, Ltd., PERC) ในฮ่องกงประเมินความเสี่ยงทางการเมืองของประเทศในเอเชียแปซิฟิก
ทำการสำรวจครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 โดยคำนวณค่าคะแนนความเสี่ยง (โอกาส) การคอร์รัปชัน
โดยให้ค่าคะแนน 0 คือมีค่าความเสี่ยง (โอกาส) คอร์รัปชันน้อยที่สุด ค่าคะแนน 10 คือมีค่า
ความเสี่ยง (โอกาส) คอร์รัปชันน้อยที่สุด โดยให้เป็นการวัดระดับการทุจริตหรือความไม่โปร่งใส
ดังนั้น ถ้ามีคะแนนต่ำถือว่ามีการทุจริตน้อย ถ้ามีคะแนนสูงหมายถึงมีระดับการทุจริตสูง
5.4 ดัชนีธรรมาภิบาลโลก (The Worldwide Governance Indicators, WGI)
ธนาคารโลกได้ทำการพัฒนาและสร้างมาตรฐานข้อมูลดัชนีชี้วัดคุณภาพของภาครัฐในประเทศ
ต่างๆ ดัชนีชุดนี้ครอบคลุมประเทศ และเขตปกครองพิเศษรวมทั้งสิ้น 212 ประเทศ โดยใช้ดัชนีชี้
สภาวะธรรมาภิบาล (The Worldwide Governance Indicators, WGI) 6 มิติ ได้แก่ 1) การมี
สิทธิมีเสียงและการตรวจสอบ (Voice & Accountability) 2) เสถียรภาพทางการเมืองและการ
ไม่มีสถานการณ์ความรุนแรง (Political Stability and Absence of Violence) 3) ประสิทธิผล
ของภาครัฐ (Government Effectiveness) 4) คุณภาพของกฎระเบียบต่างๆ (Regulatory
Quality) 5) การบังคับใช้กฎหมาย (Rule of Law) 6) การควบคุมปราบปรามการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ (Control of Corruption) แต่ละประเภทจะมีการให้ค่าคะแนนเป็นลำดับร้อยละ
(Percentile rank) ซึ่งมีค่าระหว่าง 0 – 100 ค่าเข้าใกล้ 0 แสดงว่าระดับธรรมาภิบาลต่ำ แต่ถ้าใกล้
100 แสดงว่าระดับธรรมาภิบาลสูง (คณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ, 2551)
5.5 เครื่องวัดการคอร์รัปชันทั่วโลก (Global Corruption Barometer, GCB) Gallup
International Association ได้จัดทำเครื่องวัดการคอร์รัปชันทั่วโลก เป็นเครื่องมือหนึ่งขององค์กร
เพื่อความโปร่งใสนานาชาติ แม้ว่าเครื่องมือวัดจะมุ่งไปที่ความคิดเห็นของประชาชน แต่ก็เติมเต็ม
ด้วย CPI และ BPI ซึ่งเป็นความคิดจากผู้เชี่ยวชาญและผู้นำทางธุรกิจ เป็นการประเมินการรับรู้
และประสบการณ์ด้านการคอร์รัปชันของประชาชนกับองค์กรหรือหน่วยงานราชการต่างๆ โดยมี
การจัดทำครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 โดยในปี พ.ศ. 2548 และเป็นปีที่มีการสำรวจครั้งแรกใน
ประเทศไทย
5.6 แนวโน้มคอร์รัปชันทั่วโลกของหน่วยงานความซื่อสัตย์โปร่งใสสากล (Global Integrity)
หน่วยงานความซื่อสัตย์โปร่งใสสากลเป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร ทำงานติดตามแนวโน้ม
การคอร์รัปชันทั่วโลก โดยทำงานร่วมกับทีมท้องถิ่น โดยมีนักวิจัย นักข่าวลงพื้นที่ติดตามการเปิดเผย
และการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งมีทีมงานจำนวนมากในกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ผ่านอินเตอร์เน็ต
มีนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญควบคุมการจัดทำข้อมูล โครงการนี้ได้เริ่มในปี พ.ศ. 2542 และต่อมา
ในปี พ.ศ. 2548 จัดตั้งเป็นหน่วยงานความซื่อสัตย์โปร่งใสสากล (Global Integrity) เริ่มแรก การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4