Page 385 - kpi17073
P. 385
384 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ทางการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงผ่านประธานวุฒิสภา เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.
ไต่สวนข้อเท็จจริง และหากมีข้อเท็จจริงตามคำร้องจะส่งไปยังวุฒิสภาเพื่อดำเนินการถอดถอน
6.7 เปิดให้เป็นประเด็นสาธารณะ เพื่อสร้างขยายความร่วมมือระหว่างเครือข่าย ความ
หลากหลาย ของข้อมูลผ่านเวทีสาธารณะ และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เพื่อเป็นมาตรการทางสังคม
ในการเฝ้าระวังบุคคลผู้ทำการคอร์รัปชัน
6.8 การประท้วง เป็นทางเลือกสุดท้ายที่ประชาชนจะดำเนินการ หากการดำเนินการ
ข้างต้นไม่ปรากฏผลตามข้อกฎหมายที่ถูกต้อง และรวดเร็ว เป็นมาตรการในการกดดันการ
ปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตามกฎหมายด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว และโปร่งใส
7. มาตรการและวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน
จากข้อมูลที่ได้ข้างต้น สามารถสรุปเพื่อจัดทำเป็นร่างนโยบายและมาตรการในการป้องกัน
และแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยทั้งสาเหตุ รูปแบบ แนวโน้ม
ตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้
7.1 สร้างความเข้มแข็งและความน่าเชื่อถือให้กับหน่วยงานทางด้านการป้องกันและปราบปราม
- การคัดสรรบุคลากรมาร่วมงานในหน่วยงานดังกล่าว ต้องมีความเหมาะสมทั้งด้าน
การศึกษา คุณวุฒิ ทักษะ ประสบการณ์ และมีแผนการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้มีความสามารถที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง
- บุคลากรในหน่วยงานดังกล่าว ต้องมีความพร้อมและมีความสามารถและมีความ
รับผิดชอบที่จะทำงานร่วมกับภาคประชาชน สื่อ นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
อื่นๆ ของสังคม หน่วยงานดังกล่าว ต้องมีงบประมาณดำเนินงานอย่างเหมาะสม
มีทรัพยากร เครื่องไม้ เครื่องมือ ที่เหมาะสมเทียบเคียงกับประเทศที่ประสบ
ผลสำเร็จ หรือสามารถขอความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ได้
- ระบบการบริหารงานภายในหน่วยงานดังกล่าวต้องมีโครงสร้างและขั้นตอนไม่ซับซ้อน
เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินคดี
- ต้องนำเอากฎหมายที่ใช้ในการต่อต้านการคอร์รัปชันมาใช้อย่างกว้างขวาง และ
บังคับใช้โดยยึดถือหลักนิติธรรม และมีการปฏิบัติงานที่เข้มแข็ง
- หน่วยงานดังกล่าวต้องมีแนวทางการป้องกันการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง และ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 - หน่วยงานดังกล่าวต้องยึดถือหลักการเรื่องประสิทธิภาพและความโปร่งใส และ
เป็นอิสระจากอิทธิพลนอกกฎหมาย
อยู่บนพื้นฐานของความมีคุณธรรม ความเป็นวิชาชีพ