Page 376 - kpi17073
P. 376
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 375
- เกิดจากการใช้อำนาจ บารมี อิทธิพล หรือตำแหน่งหน้าที่ราชการที่มีอำนาจในการ
วินิจฉัย
- โครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองที่อ่อนแอ
- โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีการผูกขาดของกลุ่มทุนขนาดใหญ่
- โครงสร้างทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นแบบอุปถัมภ์
- ค่านิยมที่ยกย่องคนมีฐานะร่ำรวย
- โครงสร้างทางการเมืองที่ต้องอาศัยเงินเป็นใหญ่
- การจ่ายเงินเพื่อซื้อเสียง ทำงานทางการเมือง
- กระแสทุนทางการเมือง อาทิ โครงการเมกะโปรเจกต์ถือเป็นการคอร์รัปชันเชิง
บูรณาการ ที่ต้องใช้ทุนในการบริหารจัดการ จัดจ้างที่ปรึกษา วัสดุอุปกรณ์และ
เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีคนรอบรู้ ในเรื่องเหล่านี้อยู่เพียงวงจำกัด ทำให้การ
คอร์รัปชั่นเป็นไปได้ง่าย
- ความไม่เข้มแข็งขององค์กรตรวจสอบ ปราบปรามของรัฐ เกิดจากการเปิดเสรีการ
ค้าและการลงทุน ที่มีการแข่งขันแย่งจ่ายส่วยหรือสินบน เพื่อให้ได้รับอนุมัติให้
นำเข้า หรือได้มาซึ่งใบอนุญาตต่อการได้รับสิทธิต่อโครงการต่างๆ
- กฎหมายขาดความสมบูรณ์ในการดำเนินงาน
- การบังคับใช้กฎหมายไทยยังไม่เคร่งครัด และมีช่องโหว่ให้ผู้ใช้กฎหมายดำเนินการ
แบบสองมาตรฐาน และการขาดความเชื่อมั่นต่อการเข้าร้องเรียนและฟ้องร้อง
1.3 เกิดจากการขาดจริยธรรม เป็นสาเหตุที่มาจากการขาดจริยธรรมของบุคคล รวมถึง
ประมวลจริยธรรมขององค์กรไม่ได้มีการบังคับใช้ให้เกิดผล โดยสรุปสาเหตุได้ดังนี้
- การขาดคุณธรรม จริยธรรม
- การขาดเจตจำนงที่แน่วแน่ของฝ่ายการเมืองในการแก้ไขปัญหา และภาคการเมือง
ขาดความมั่นคงและต่อเนื่อง
1.4 เกิดจากแรงจูงใจที่มองเห็นผลตอบแทนความเสี่ยงในการคอร์รัปชันมีความคุ้มค่าอย่าง
มาก การเสี่ยงที่จะทำคอร์รัปชันให้ผลตอบแทนสูงกว่าการค้ายาเสพติด อันตรายก็น้อยกว่ามาก
จึงเป็นอีกสาเหตุที่ส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจในการทำคอร์รัปชันอย่างแพร่หลาย คนในสังคมที่กล้า
เสี่ยงทำการคอร์รัปชันแล้วได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอย่างมาก แต่การถูกจับได้ไล่ทัน หรือถูกลง
โทษมีน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนคนที่ทำคอร์รัปชัน ยิ่งเป็นแรงจูงใจให้คนที่ไม่เคยทำคอร์รัปชัน การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4