Page 368 - kpi17073
P. 368

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   367


                      ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเองของมนุษย์อย่างมากมาย อาทิ
                      พฤติกรรมของเด็กและเยาวชน เป็นผลมาจากเซลล์กระจกเงาไปลอกเลียนแบบพฤติกรรมตัวอย่าง

                      ที่ได้พบเห็นในสังคม และพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กเล็กๆ เป็นผลมาจากการทำงานของ
                      เซลล์กระจกเงา ทำให้เด็กสามารถเข้าใจเจตนาที่ซ่อนอยู่ภายใต้คำพูดของผู้พูดได้ การเข้าใจจิตใจ
                      ผู้อื่นได้ดีเป็นผลมาจากการที่เซลล์กระจกเงาทำหน้าที่อ่านใจ (Mind Reading) บุคคลผู้นั้น

                      เป็นต้น


                            จากแนวคิดของทฤษฎีกระจกเงานี้ นักวิชาการในวงการศึกษาได้เสนอให้ นำมาใช้ในการ
                      พัฒนาเด็กไทย โดยเฉพาะพฤติกรรมการเลียนแบบของเด็กที่เกิดขึ้น จากการทำงานของเซลล์
                      กระจกเงาในตัวเด็กเอง


                            ถ้าพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในสังคม มีทักษะในการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกๆ โดยไม่ใช่เพียงแค่การ

                      ใช้ “คำพูด” ในการสั่งสอนลูกเท่านั้น เซลล์กระจกเงาจะทำงานได้ดีเมื่อลูกเห็นพฤติกรรมของ
                      พ่อแม่ และสามารถสะท้อนสิ่งที่ดีแล้วซึมซับเข้าไปเป็นลักษณะนิสัยของตัวเด็กเอง


                            ประโยชน์ของทฤษฎีนี้ ทำให้สังคมรู้ว่าแบบอย่างที่ดีจากพ่อแม่ คือ สิ่งสำคัญที่สุดในการ
                      พัฒนาลักษณะนิสัยและสภาวะคุณธรรมในตัวเด็กตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งสอดคล้องกับนิทานอีสปที่

                      กล่าวในข้างต้น และเป็นตรรกะเดียวกับคำพูดของผู้ใหญ่ในอดีตที่นิยมตำหนิเด็กซึ่งความประพฤติ
                      ไม่ดีว่า “พ่อแม่ไม่สั่งสอน”


                            แนวคิดนี้สามารถเชื่อมโยงต่อไปยังทฤษฎีการกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization) ที่บอกว่า
                      การรับรู้เพื่อสร้างค่านิยม ทัศนคติของบุคคล เกิดจากการเรียนรู้สิ่งที่ถูกต้องผ่านสื่อกลางของ

                      สังคม 6 กลุ่ม คือ สถาบันครอบครัว  สถานศึกษา สถาบันศาสนา ชุมชน กลุ่มเพื่อน และ
                      สื่อมวลชน ซึ่งมีกระบวนทัศน์เดียวกัน


                            ดังนั้น การสร้างสังคมคุณธรรมให้เกิดขึ้น จำเป็นต้องสร้างกระบวนทัศน์ของสื่อกลางทั้ง
                      6 กลุ่มให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยกำหนดบรรทัดฐานของสังคม (Norms) ที่ทุกคนยอมรับและ

                      ยึดถือประพฤติปฏิบัติ


                            พร้อมกับรณรงค์ให้คนในสังคม ตั้งแต่พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ นักบวชผู้สอนศาสนา ชนชั้นนำ
                      ของสังคม (Elite) เพื่อนร่วมสังคม และสื่อมวลชน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในสังคม
                      โดยประพฤติตามบรรทัดฐานเหล่านั้น เพื่อให้สิ่งที่ดีงามซึมซับเข้าสู่สมองผ่านประสาทสัมผัสทั้งหก

                      คือ ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ เข้าสู่เซลล์กระจกเงาของเด็กและเยาวชน และยึดถือเป็นลักษณะนิสัย
                      ที่ถาวรยั่งยืน


                            อย่างไรก็ดี การเป็นแบบอย่างต่อสังคมนั้น เปรียบเสมือนเหรียญที่มีสองด้านทั้งดีและไม่ดี
                      จึงสมควรที่ผู้ใหญ่ต้องระมัดระวัง ไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดีซึ่งจะทำให้เด็กจดจำ นำไปปฏิบัติ จนเกิด

                      ค่านิยมในทางที่ผิด เช่น โกงก็ได้ถ้าทำให้ประเทศเจริญ เป็นต้น                                        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
   363   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373