Page 367 - kpi17073
P. 367
366 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ในอดีตการปลูกฝังคุณธรรมต้องทำกันตั้งแต่เด็กๆ โดยผู้ใหญ่นิยมเล่านิทานให้เด็กฟัง และ
เมื่อเล่าให้เด็กฟังแล้ว ผู้ใหญ่ก็ต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในคุณงามความดีตามเรื่องที่เล่านั้นด้วย
จนกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมนั้นที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีก
รุ่นหนึ่ง
นิทานที่นิยมนำมาเล่ากันมากที่สุด คือ นิทานอีสป เพราะมีการสรุปเป็นคติสั้นๆ “นิทาน
เรื่องนี้สอนว่า” ทำให้เด็กจดจำ นำไปปฏิบัติได้ง่าย ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำมาทำเป็นนิทาน
การ์ตูนสั้นสองภาษาเผยแพร่ทางสื่อสาธารณะ ทำให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งคุณธรรมและภาษาในเวลา
เดียวกัน เช่น เว็บไซต์ http://flashmini.com
มีนิทานเรื่องหนึ่งที่อมตะมาก และถูกนำมาสั่งสอนกันเป็นหลักการสอนคุณธรรมกันจนถึง
ปัจจุบัน คือ เรื่อง “แม่ปูกับลูกปู” ซึ่งมีสาระสั้นๆ ดังนี้
วันหนึ่งแม่ปูถามลูกปูว่า “ทำไมลูกถึงเดินเบี้ยว ลูกปูควรเดินตรงๆ นะ”
ลูกปูตอบว่า “ถ้าอย่างนั้นทำให้ผมดูซิครับ แล้วผมจะทำตาม”
แม่ปูไม่อาจทำตามที่บอกลูกปูได้ และหลังจากนั้นก็ไม่พูดถึงเรื่องนี้อีกเลย
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “การทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง ให้ผลดีกว่าสอนอย่างเดียว”
เรื่องการเป็น “ตัวอย่าง” นี้ นักวิชาการได้นำมาอธิบายเป็นทฤษฎีพัฒนาพฤติกรรมของ
16
มนุษย์ เรียกว่า “ทฤษฎีสังคมกระจกเงา” (Social Mirror Theory) ซึ่งนำเสนอครั้งแรกจาก
แนวคิดของ Wilhelm Ditthey (1883-1911) ว่า
“คนเราสามารถเรียนรู้เพื่อรับรู้ความคิดและความรู้สึกของตนเอง ได้จากการอยู่ในโลกแห่ง
ความคิดและความรู้สึกของสังคม”
จากปรัชญานี้ได้มีการศึกษาต่อโดยนักจิตวิทยาสังคมและนักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ อย่าง
ต่อเนื่องจนกระทั่งในปี 2539 นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยพาร์ม่า ประเทศอิตาลี ประกอบ
ด้วย Dr.Vittorio Gallese, Dr.Leonardo Fogassi และ Dr.Giacomo Rizzolatti เป็นผู้เปิดประตู
นำไปสู่การไขความลับนี้ โดยพบว่า ภายในสมองของคนเรามีเซลล์ชนิดหนึ่ง ซึ่งต่อมาตั้งชื่อว่า
เซลล์กระจกเงา (Mirror Neuron)
โดยอธิบายว่า เซลล์กระจกเงา เป็นเซลล์ชนิดหนึ่งในสมองของมนุษย์ซึ่งทำหน้าที่เลียนแบบ
พฤติกรรมต่างๆ ของผู้อื่นมาเป็นพฤติกรรมของตนเอง
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 ชนิดนี้อย่างกว้างขวาง ทั้งในวงการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การศึกษา จิตวิทยาและสังคมวิทยา
การค้นพบของนักวิชาการในครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดการค้นคว้าวิจัยบทบาทและหน้าที่ของเซลล์
16
ทฤษฎีสังคมคุณธรรม [Online]. http://khunnathamthai.blogspot.com/2014/05/social-mirror- theory.html.
10 ต.ค. 57