Page 362 - kpi17073
P. 362

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   361


                            จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรานี้ ทำให้ผู้ตรวจการแผ่นดินในฐานะหน่วยงาน
                      ที่รับผิดชอบ ได้กำหนดให้ทุกส่วนราชการจัดทำประมวลจริยธรรมที่กำหนด “มาตรฐานทาง

                      จริยธรรม” เพื่อเป็นพฤติกรรมอันพึงประสงค์สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาชีพหรือส่วนราชการนั้น

                            นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรายละเอียดการจัดทำประมวลจริยธรรมว่า


                            “มาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อ

                      ให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรง
                      แห่งการกระทำ”


                            จากการศึกษาประมวลจริยธรรมของส่วนราชการต่างๆ โดยเฉพาะนักการเมืองระดับชาติ
                      ได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พบว่า ไม่มี

                      ฉบับใดกำหนด “ความร้ายแรงแห่งการกระทำ” และขั้นตอนการลงโทษที่ชัดเจนเลย มีเพียง
                      กำหนดบทบังคับไว้ด้วยการใช้ถ้อยคำ “จักต้อง” และ “พึง” แต่ไม่ได้ระบุว่า การฝ่าฝืนขั้น
                      “จักต้อง” เป็นฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่


                            “ความร้ายแรงของการกระทำ” นี้ มีความมุ่งหมายเพื่อปลูกฝังสั่งสอนให้คนในสังคมนั้น

                      มีความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง จึงควรกำหนด
                      ไว้ในประมวลจริยธรรมเพื่อเตือนล่วงหน้าว่า “อย่าทำ” หากทำจะต้องได้รับการลงโทษจากสังคม

                      ตามที่กำหนด

                            ในทางวิชาการมาตรฐานทางจริยธรรมที่กำหนดเป็นสากล ออสเตรเลียได้กำหนดว่า มีแหล่ง

                      ที่มาจาก 4 ส่วน (PLUS) ได้แก่ (1) นโยบายขององค์กร (Policies) (2) กฎหมาย (Legal)
                      (3) มาตรฐานสากล (Universal) (4) มาตรฐานองค์กร (Self) ที่ระบุถึง ความดี ความถูกต้อง
                      และความเป็นธรรม


                            องค์กรภาคธุรกิจของออสเตรเลียได้นำจริยธรรมเหล่านี้ มากำหนดลำดับความร้ายแรงแห่ง

                      การกระทำที่สอดรับกับแหล่งที่มา ดังนี้

                            Must do (หรือ Must not do) หมายถึง “จักต้อง” ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด


                            Have to do หมายถึง “ต้อง” ปฏิบัติตามนโยบายขององค์กร ระเบียบปฏิบัติ และคู่มือการ

                      ทำงาน

                            Should do หมายถึง “ควร” ปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่ได้เลือกมาใช้ตามบริบทของ

                      องค์กร


                            Ought to do หมายถึง “พึง” ปฏิบัติตนตามแนวทางที่คนในองค์กรเห็นพ้องต้องกันว่า เป็น
                      ความดี ความถูกต้อง และความเป็นธรรม ที่สมควรยึดถือปฏิบัติเป็น “วัฒนธรรมองค์กร”                      การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
   357   358   359   360   361   362   363   364   365   366   367