Page 360 - kpi17073
P. 360

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   359


                      ประสิทธิผล และที่สำคัญมากที่สุด คือ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เป็นประธานโครงการขับเคลื่อน
                      คุณธรรมความซื่อตรงเอง จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในสังคมมาเลเซียมากและรวดเร็ว



                      ประมวลจริยธรรม



                            มนุษย์มีคุณลักษณะเหนือกว่าสัตว์โลกทั้งปวงตรงที่มีจิตใจและรู้เหตุผล สามารถเรียนรู้
                      สรรพสิ่งต่างๆ ได้ จึงมีความสามารถในการใช้วิจารณญาณตัดสินว่า “อะไรควรทำ อะไรไม่ควร

                      ทำ” ทำให้สามารถควบคุมความประพฤติของตนมิให้สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น สังคมมนุษย์
                      จึงอยู่ร่วมกันด้วยความสันติสุข


                            แต่เมื่อโลกเจริญขึ้น กระแสวัตถุนิยมในกระแสโลกาภิวัตน์ทำให้ความสามารถในการระงับ
                      จิตใจของมนุษย์ลดน้อยถอยลง จึงมีการแย่งชิงทรัพยากรตามต้องการของตนอย่างไร้เหตุผล และ

                      ปล่อยให้กิเลสสิ่งเศร้าหมอง ซึ่งได้แก่ รัก โลภ โกรธ และหลง มีอำนาจเหนือ “คุณธรรม” ที่มีอยู่
                      ในจิตใจของมนุษย์ทุกคน


                            ด้วยเหตุนี้ ทุกศาสนาจึงสอนให้มนุษย์ทุกคนมีสติเพื่อควบคุมกิเลสในจิตใจของตน และ
                      กำหนด “ศีล” เป็นข้อห้ามมิให้ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งจะทำให้เกิดข้อขัดแย้งทำให้สังคมขาดความ

                      สงบสุข


                            ขณะเดียวกันก็จะมี “ธรรมะ” เป็นคำแนะนำในการทำความดีควบคู่กับ “ศีล”

                            ดังจะเห็นได้จากหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่กำหนดให้มี “เบญจศีล” คู่กับ

                      “เบญจธรรม” เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติตนของปุถุชนคนธรรมดา แต่ในระยะหลังๆ เบญจธรรม
                      ได้จางหายไปจากสังคมไทย


                            นอกจากนี้ ชนชั้นปกครอง (Elite) ยังได้กำหนด “กฎ กติกา มารยาท” ของแต่ละสังคม
                      เพื่อควบคุมให้คนในสังคมปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของคุณงามความดี และยึดถือจนเป็น

                      ขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม


                            “มารยาท” หมายถึง ความประพฤติอันพึงปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม เพื่อให้
                      เกิดความดี ความถูกต้อง และความเจริญรุ่งเรืองเกษมสุขขึ้นในสังคมนั้น ได้ด้วยตัวเอง


                            “กติกา” หมายถึง กฎเกณฑ์ หรือคำแนะนำที่เป็นเงื่อนไขให้คนในสังคมนั้นประพฤติปฏิบัติ
                      เพื่อให้การทำกิจกรรมร่วมกันเป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น และ


                            “กฎ” หมายถึง ข้อกำหนดในธรรมชาติที่ผู้มีอำนาจกำหนดขึ้นตามสภาวะของสังคม เพื่อใช้
                      “บังคับ” ให้คนในสังคมนั้นประพฤติปฏิบัติอันจะนำมาซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคม


                            ถ้าสังคมใดมี “คนดีมีมารยาท” หรือมี “คุณธรรม” มาก สังคมนั้นก็จะมีความสงบสุข                   การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4

                      เพราะทุกคนรู้บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ไม่ปล่อยให้ “กิเลส” หรือความอยากมีอยาก
   355   356   357   358   359   360   361   362   363   364   365