Page 356 - kpi17073
P. 356

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   355


                            ขณะเดียวกัน วุฒิสภาและศูนย์คุณธรรม ได้มอบให้สำนักงานวิจัยและพัฒนา สถาบัน
                      พระปกเกล้า ศึกษาสภาพความซื่อตรงในสังคมไทยโดยใช้แนวคิดของมาเลเซีย ทำให้ได้ทราบ

                      สภาพปัญหาและแนวทางในการพัฒนาคุณธรรมความซื่อตรงในสังคมไทย รวมถึงมีการจัดทำ
                      “ดัชนีชี้วัดความซื่อตรง” เพื่อให้บุคคลและหน่วยงานสามารถนำไปประเมิน เพื่อพัฒนาคุณธรรม
                      ความซื่อตรงในมิติต่างๆ ด้วยตนเองได้


                            ในการสัมมนาดังกล่าว คณะผู้ดำเนินการโครงการได้เสนอแนวคิดในการปลูกฝังค่านิยม

                      ความซื่อตรง ด้วยการเชิญชวนให้ส่วนราชการส่งหัวหน้าส่วนราชการที่มีความซื่อตรงเป็นที่
                      ประจักษ์มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแสวงหาวิธีการปลูกฝังค่านิยมความซื่อตรงให้เป็น
                      วัฒนธรรมองค์กร ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร และเสนอแนวคิดของการปลูกฝัง

                      ค่านิยมความซื่อตรงของสหรัฐอเมริกา ด้วยวรรคทองที่ว่า “เราจะไม่โกหก ไม่โกง ไม่ขโมย และ
                      จะไม่ยอมให้ผู้ใดทำเช่นนั้น” ซึ่งผลการสัมมนาในวันนั้น ได้ตกผลึกแนวคิดร่วมกันว่า ควรมีการ

                      จัดทำ “โครงการองค์กรต้นแบบความซื่อตรงในภาครัฐ” โดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินรับเป็น
                      เจ้าภาพ และศูนย์คุณธรรม รับเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ ซึ่งเป็นที่มาของการเปิดตัว
                      โครงการนี้


                            จากการตกผลึกแนวคิดดังกล่าว คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริม

                      สร้าง ธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้มีหนังสือเชิญชวนส่วนราชการต่างๆส่งหัวหน้าส่วนราชการที่มี
                      ความซื่อตรงเป็นที่ประจักษ์ มาเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ 27 หน่วยงาน
                      เสนอบุคคลและหน่วยงานเข้าร่วม


                            การขับเคลื่อนโครงการองค์กรต้นแบบความซื่อตรงในภาครัฐ ได้เชิญ 27 บุคคล ที่ได้รับ

                      การเสนอชื่อว่าเป็นผู้มีความซื่อตรงเป็นที่ประจักษ์มาสร้างความเข้าใจ เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                      แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมความซื่อตรงในองค์กรซึ่งกันและกัน หลังจากการเสวนาครั้งแรก
                      จะเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมโครงการทุกท่านนำแนวคิดต่างๆที่ได้รับจากเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                      ไปทดลองปฏิบัติตามบริบทของหน่วยงานของตนเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน แล้วกลับมาเสวนาอีก
                      เพื่อปรับกลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กร และนำไปทดลองอีกประมาณ 3 เดือน โดยจะมีนักวิชาการ

                      ให้ข้อเสนอแนะและถอดบทเรียนจากการดำเนินการของทั้ง 27 บุคคลและองค์กรเพื่อนำไปเป็นต้น
                      แบบองค์กรความซื่อตรงให้กับหน่วยงานอื่นๆ ต่อไป ซึ่งผลการดำเนินการมี 3 หน่วยงาน
                      ที่สามารถเป็นต้นแบบองค์กรแห่งความซื่อตรงได้ 3 หน่วยงาน คือ กรมคุมประพฤติ กระทรวง

                      ยุติธรรม กรมการเงินกลาโหม และกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทหารอากาศ


                            ในการจัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ปี 2554 คณะกรรมการจัดงานสมัชชาฯ
                      มีแนวคิดที่จะจัดทำแผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ ที่ดำเนินการโดยองค์กรภาคีเครือข่ายจากทุก

                      ภาคส่วนของสังคม ร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางของการขับเคลื่อนคุณธรรมความ
                      ซื่อตรงร่วมกัน โดยแผนงาน ที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้นั้น จะต้องเป็นแผนงานที่นำไปสู่การ
                      ส่งเสริมคุณธรรมความซื่อตรงที่มีเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามา

                      ร่วมเป็นเจ้าของ มีส่วนร่วมคิด ร่วมกำหนด ผ่านกระบวนการเรียนรู้จนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติ             การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
   351   352   353   354   355   356   357   358   359   360   361