Page 354 - kpi17073
P. 354

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   353


                            ในส่วนของหลักธรรมทางศาสนาไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ หรือ
                      ฮินดู ฯลฯ จะเห็นได้ว่าศาสนิกชนยังไม่ได้นำหลักธรรมคำสอนมาใช้ประพฤติปฏิบัติในวิถีชีวิตอย่าง

                      แท้จริง รวมไปถึงแนวพระราชดำริและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่แม้ว่า
                      ประชาชนจะให้การเคารพสักการะและเทิดทูนพระองค์ท่านอย่างสูงสุด แต่การยึดถือและปฏิบัติ
                      ตามก็ยังคงมีในสัดส่วนที่น้อยมาก  ทั้งแนวคิดหรือหลักความพอเพียงและกระแสพระราชดำรัสใน

                      เรื่องความความซื่อตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความซื่อตรงต่อหน้าที่ ซึ่งพระราชทานแก่ผู้นำและ
                      บุคลากรในทางการเมืองการปกครอง การบริหารราชการแผ่นดินที่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือนั้น

                      มีจำนวนมากตลอดรัชสมัยของพระองค์ท่าน

                            นอกจากนี้ “หลักราชการ” ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรง

                      พระราชนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2457 ซึ่งมีสาระโดยสรุปได้ว่าข้าราชการมีแต่เพียงความรู้เท่านั้น
                      ไม่พอ จำเป็นต้องมี “คุณวิเศษ” 10 ประการด้วย โดยที่ “ความซื่อตรงต่อหน้าที่” และ “ความ

                      ซื่อตรงต่อคนทั่วไป” นั้น เป็น 2 ใน 10 ข้อ อันเป็นคุณลักษณะของข้าราชการที่ดี แต่อย่างไร
                      ก็ตามนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2457 จนกระทั่งถึงปัจจุบันก็ 100 ปี ล่วงมาแล้ว ที่ภาคราชการไทยยังคง
                      ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการทุจริตและประพฤติมิชอบ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ

                      ชาติและส่วนรวมอยู่เป็นจำนวนมาก


                            ในปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าสังคมไทยยังขาดต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                      จากผู้นำในทุกระดับ รวมไปถึงการขาดระบบและกระบวนการยกย่องเชิดชูดูแลคนดีที่ซื่อตรง และ
                      การให้การศึกษาและการเรียนรู้ในสังคม โดยสถาบันหลักของสังคม หน่วยงานภาครัฐ รวมทั้ง

                      สื่อมวลชนที่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างสังคมแห่งคุณธรรมความซื่อตรง จึงทำให้
                      สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่ได้ให้คุณค่ากับ “ความซื่อตรง” นับตั้งแต่ผู้นำระดับสูงของประเทศ ไปจน

                      กระทั่งถึงปัจเจกชนหรือบุคคลธรรมดาที่พบว่ามีความบกพร่องในเชิงศีลธรรมจริยธรรม โดย
                      เฉพาะความซื่อตรง เนื่องจากขาดภูมิคุ้มกัน หรือขาดวุฒิภาวะที่จะใช้วิจารณญาณหรือสติ
                      ไตร่ตรองหาเหตุผลได้ด้วยตนเอง ไม่รู้จักบทบาทหน้าที่ของตน ขาดความรับผิดชอบ ขาดวินัย

                      และไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง กฎเกณฑ์ กติกา และมารยาทของสังคม ซึ่งอาจเป็นไปเพราะ
                      ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแท้จริง


                            นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะที่เบี่ยงเบนไปจากความ
                      ซื่อตรง โดยไม่รู้สึกว่าเป็นการกระทำที่ควรละเว้น แต่กลับรู้สึกดีหากทำเช่นนั้นได้ ซึ่งถือว่า

                      ทัศนคติหรือวัฒนธรรมบางประการที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อการเสริมสร้างความซื่อตรง เช่น
                      การยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือความไม่ซื่อตรงได้ ปัญหาความรุนแรงเกี่ยวกับปัญหา

                      คอร์รัปชั่นไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนการ
                      อำนวยความยุติธรรมและการสร้างความเป็นธรรมทางสังคมเท่านั้น หากแต่ยังก่อให้เกิด
                      ผลกระทบต่อระบบคุณค่าทางสังคมอันเกี่ยวพันกับการรับรู้และการดำเนินชีวิตของคนในสังคม


                            ขณะเดียวกัน สังคมไทยยังขาดปทัสฐาน หรือบรรทัดฐาน (Norm) ที่เป็นแบบแผน

                      กฎเกณฑ์ หรือเกณฑ์กลางที่สังคมให้การยอมรับร่วมกัน มีการยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดหรือ              การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
   349   350   351   352   353   354   355   356   357   358   359