Page 353 - kpi17073
P. 353

352     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       นอกจากนั้น การวิจัยยังพบว่า มีสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดว่าเป็นวัฒนธรรมที่อ่อนแอ คือ
                  ความเกรงใจ และการไม่เต็มใจหรือห้ามมิให้มีการวิพากษ์ข้อวิจารณ์เมื่อมีข้อผิดพลาดในคุณธรรม

                  ความซื่อตรงเกิดขึ้น เพราะกลัวปฏิกิริยาย้อนกลับ ทำให้เป็นคนเอาตัวรอดและประจบสอพลอ

                       คณะผู้วิจัยสรุปความเห็นว่า ความอ่อนแอเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดในปัจจัยที่กล่าวข้างต้น

                  จะเป็นส่วนทำลายคุณธรรมความซื่อตรง ซึ่งแนวทางการแก้ไขต้องอาศัยความเต็มใจและการ
                  สนับสนุนอย่างเข้มแข็งของทุกคนในชาติ ดังนั้น จึงได้ระบุปัจจัยทั้งหมดให้ทุกคนสามารถเข้าใจได้

                  โดยให้มีการบูรณาการอย่างเป็นระบบ ดังปรากฏใน “แผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ
                  (มาเลเซีย)”


                       สำหรับกลยุทธ์ในแผนฉบับนี้ได้กำหนดเป็น “วาระความซื่อตรงแห่งชาติ” สำหรับ 8 สถาบัน
                  ของสังคม คือ สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันประชาสังคม สถาบันวัฒนธรรมสังคม

                  สถาบันศาสนา สถาบันทางเศรษฐกิจ สถาบันการเมือง และสถาบันการบริหาร โดยมีการกำหนด
                  แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ให้หน่วยเกี่ยวข้องปฏิบัติอย่างชัดเจน


                       ขณะนี้สิ้นสุดการดำเนินการตามแผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติของมาเลเซียในช่วงแรก
                  แล้ว คงต้องติดตามผลสัมฤทธิ์และแนวทางการพัฒนาแผนในขั้นต่อไป


                       จากแนวคิดในการจัดทำแผนพัฒนาความซื่อตรงของมาเลเซีย จะเห็นว่า คุณธรรมความ

                  ซื่อตรง หรือ Integrity มีความสำคัญในการสร้างธรรมาภิบาลและป้องกันการคอร์รัปชั่นมาก
                  มาเลเซียจึงต้องมีการจัดทำแผนระดับชาติ โดยนำมากำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                  แห่งชาติ และมีหน่วยงานรับผิดชอบในการให้ความรู้ทางวิชาการเพื่อสร้างความเชื่อและมีระบบ

                  การบริหารแผนปฏิบัติการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมสมควรมีการศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้ใน
                  การพัฒนาสังคมไทยให้มีความซื่อตรง



                  แผนพัฒนาความซื่อตรง



                       จากการสถานการณ์ของสังคมไทยในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าสังคมไทยประสบปัญหาและมี
                  ความบกพร่องในความซื่อตรงที่ดำรงอยู่ในทุกภาคส่วน โดยที่ความไม่ซื่อตรงของผู้นำ หรือ

                  บุคลากรทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ภาครัฐนั้น ถูกสะท้อนออกสู่สังคมหรือสาธารณะมากกว่า
                  บุคคลทั่วไป ในขณะที่บุคคลดังกล่าวได้กระทำความผิด หรือกระทำการอันไม่ซื่อตรง แต่โดยส่วน
                  ใหญ่แล้วก็ไม่ได้รับการลงโทษ ทั้งในทางกฎหมายและการลงโทษทางสังคมแต่อย่างใด ประกอบ

                  กับสถาบันหลักของสังคมทั้งสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา รวมทั้งสถาบันศาสนาขาดความ
                  เข้มแข็งในการปลูกฝังหล่อหลอมกล่อมเกลาสมาชิกในสังคม ด้วยสาเหตุหลักจากการขาดแบบ

        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4   อีกทั้งขาดพลังในการปลูกฝัง กล่อมเกลาคุณธรรมจริยธรรมและความซื่อตรง ทำให้ไม่สามารถ
                  อย่างที่ดีจากผู้นำ ระบบการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบยังไม่เอื้อและไม่เหมาะสม

                  พัฒนา “ความรู้คู่คุณธรรม” ได้อย่างแท้จริง
   348   349   350   351   352   353   354   355   356   357   358