Page 352 - kpi17073
P. 352
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 351
(1) ขาดความโปร่งใสในการบริหารงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
(2) ความอ่อนแอในระบบและขั้นตอนการปฏิบัติงาน รวมทั้งคำแนะนำในการปฏิบัติงานที่
ไม่ดี นำไปสู่ความสับสนและข้อขัดแย้งในระดับปฏิบัติ ทำให้ไร้ความสามารถในการ
ปฏิบัติงาน
(3) ไม่มีประสิทธิภาพในการนำมาตรการต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติและบางครั้งมีการเลือก
ปฏิบัติ
(4) ขาดการติดตามที่เหมาะสม และขาดการประเมินประสิทธิผลของกลยุทธ์หรือโครงการ
(5) ขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์และอุปกรณ์ในการบังคับใช้อย่างได้ผล
(6) กฎหมายที่ล้าสมัยและมีความขัดแย้งในตัวบทกฎหมาย
ในด้าน “โครงสร้างและสถาบัน” พบว่า โครงสร้างและสถาบันต่างๆ ของสังคม เป็นส่วน
ประกอบสำคัญที่ทำให้การบริหารงานของรัฐบาลและภาคเอกชนดำเนินไปอย่างราบรื่น โครงสร้าง
ขององค์กรจะต้องกำหนดให้เป็นระบบที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
มีการทบทวนตามระยะเวลาเพื่อที่จะสนองตอบนโยบายและมีความท้าทาย หน่วยงานใดก็ตามที่
ไม่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยย่อมนำไปสู่การสูญเสียทรัพยากรและทำให้ผลสำเร็จที่ต้องการต้อง
ลดน้อยถอยลง
จากการศึกษาพบว่า สถาบันต่างๆ ของสังคมมีบทบาทสำคัญยิ่งในระบบการบริหารของ
ประเทศ การกำหนดขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างสถาบันต่างๆ ต้องประกาศให้
ชัดเจน และดำรงการประสานงานที่เหมาะสมไว้ เพราะบทบาทหน้าที่ที่ซ้ำซ้อนอาจทำให้เกิด
สภาวะของการแข่งขันที่สร้างความขัดแย้ง การละทิ้งหน้าที่ และเกี่ยงงาน
นอกจากนั้น สถาบันที่มีวัตถุประสงค์หรือผลประโยชน์ขัดแย้งกับสถาบันอื่น จะเป็นสาเหตุ
ให้คุณธรรมความซื่อตรงเสื่อมลง และการที่มีผลประโยชน์ขัดกันระหว่างสถาบัน ผนวกกับความ
ขัดแย้งในค่านิยม สามารถก่อให้เกิดความสับสนจนกลายเป็นวิกฤตทางคุณธรรมได้ ซึ่งความเสื่อม
คุณธรรมความซื่อตรงนี้ จะส่งผลต่อสังคมและประเทศชาติในที่สุด
ปัจจัยประการสุดท้ายที่มีผลต่อความบกพร่องในคุณธรรมความซื่อตรงของคนในสังคม คือ
“วัฒนธรรม” ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรมเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างค่านิยมและ
พฤติกรรมของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมที่มีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์และการ
พัฒนาจากรุ่นสู่รุ่น
อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมสามารถเปลี่ยนแปลงหรือถูกทำให้เปลี่ยนแปลงได้ วัฒนธรรมที่มา
แทนที่ควรเป็นสิ่งที่ส่งเสริมค่านิยมดีงามของคุณธรรมความซื่อตรง ซึ่งจะช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี
เอื้อต่อการปรับค่านิยมในบุคคล การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4