Page 348 - kpi17073
P. 348

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   347


                            วีรวิท คงศักดิ์ (อ้างใน สถาบันพระปกเกล้า 2557) ให้ความหมายของคำว่า “ซื่อตรง”
                      ไว้ว่า เป็นการกระทำที่ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ประพฤติตนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งต่อหน้าและ

                      ลับหลัง การยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Integrity” ซึ่งเป็นค่านิยม
                      ที่สำคัญในการสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) หรือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดย
                      ทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชนต้องสร้างให้เกิดขึ้นในองค์กร ประกอบกับท่านผู้รู้ของ

                      ประเทศไทยหลายท่านได้ให้ความเห็นตรงกันว่า การที่จะทำให้ธรรมาภิบาลเกิดขึ้นในองค์กรใด
                      ผู้บริหารต้องมีทศพิธราชธรรมข้อ “อาชวะ” ที่แปลว่า “ซื่อตรง” และถ้าให้ดีควรจะมีธรรมของ

                      ผู้ปกครองอีกข้อหนึ่งคือ “อวิโรธนะ” ที่แปลว่า ไม่คลาดแคล้วจากธรรมะ หรือปฏิบัติตนอย่าง
                      เสมอต้นเสมอปลายในคุณธรรมความดี ซึ่งหมายถึง มีความซื่อสัตย์สุจริตและตรงไปตรงมา
                      โดยปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และกฎระเบียบต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด  11


                            ถ้าพิจารณาจาก หลักคุณธรรมของชาติไทย ธรรมของผู้ปกครอง คือ ทศพิธราชธรรม

                      ได้กล่าวถึงความประพฤติที่สำคัญของชนชั้นปกครองที่ต้องดำรงไว้ 2 ประการ ได้แก่ “อาชวะ”
                      ความซื่อตรง และ “อวิโรธนะ” ความไม่คลาดแคล้วจากธรรม


                            นอกจากนั้น “หลักราชการ” 10 ประการ ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง
                      นิพนธ์พระราชทานให้กับข้าราชการไทยเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2457 ได้ระบุ “ความซื่อตรง”

                      ไว้ 2 ประการ คือ ความซื่อตรงต่อหน้าที่ และความซื่อตรงต่อบุคคลทั่วไป โดยทรงอธิบายว่า

                            “ความซื่อตรงต่อหน้าที่ คือ ตั้งใจกระทำกิจการซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหน้าที่ของตนโดย

                      ซื่อสัตย์สุจริต ใช้ความอุตสาหวิริยภาพเต็มสติกำลังของตน ด้วยความมุ่งหมายให้กิจกรรมนั้นๆ
                      บรรลุซึ่งความสำเร็จโดยอาการอันงดงามที่สุดที่พึงมีหนทางปฏิบัติได้” และ


                            “ความซื่อตรงต่อบุคคลทั่วไป หมายถึง ประพฤติซื่อตรงต่อคนทั่วไป รักษาตนให้เป็นคนควร

                      เขาทั้งหลายจะเชื่อถือได้ โดยรักษาวาจาสัตย์พูดอะไรเป็นมั่น ไม่เหียนหันเปลี่ยนแปลง คำพูดไป
                      เพื่อความสะดวกเฉพาะครั้ง 1 คราว 1”


                            จะเห็นได้ว่า “ความซื่อตรง” เป็นคุณค่าที่ควรสร้างให้กับคนในสังคมเพื่อให้เป็น “มนุษย์ที่
                      สมบูรณ์” เช่นเดียวกับ “Integrity” ของสังคมตะวันตก โดยกำหนดลักษณะของความซื่อตรงได้ว่า
                      “มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้สำเร็จตามภารกิจอย่างงดงาม ด้วยความมุ่งมั่น

                      ขยัน อดทน และยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ถูกต้อง ชอบธรรม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง”


                            “หลักราชการ” มีขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2457 รวมระยะเวลาจนถึงตอนนี้
                      เป็นเวลาทั้งสิ้น 100 ปีแล้ว แต่สถานการณ์ “ความซื่อตรง” ของประเทศไทยยังมีความบกพร่อง

                      อยู่ในทุกภาคส่วน ดังนั้น สังคมไทยควรหันมาพิจารณาถึงสถานการณ์ความบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น
                      พร้อมร่วมกันแก้ไขปัญหา ร่วมกันสร้างวัฒนธรรมความซื่อตรงให้เกิดขึ้นในสังคมไทย   12


                         11   สถาบันพระปกเกล้า, 2557, อ้างแล้ว หน้า 10

                         12   เรื่องเดียวกัน. หน้า 11                                                                    การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
   343   344   345   346   347   348   349   350   351   352   353