Page 345 - kpi17073
P. 345

344     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       “Integrity มาจากรากคำศัพท์ภาษาละตินว่า Integer แปลว่า ครบถ้วนสมบูรณ์ เมื่อ
                  พิจารณาแล้วจะได้ความหมายว่า “คนที่จะเป็นคนเต็มคนนั้นต้องมี Integrity เป็นคุณธรรม

                  ประจำตัว” และให้ความหมายว่า การยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม โดยต้องมีความหนักแน่น
                  ความน่าเชื่อถือ ความยึดมั่นในหลักการและความถูกต้อง”


                       นอกจากนั้น ยังได้ยกตัวอย่างแนวทางการสร้าง Integrity ในสังคมอังกฤษว่า ต้องปลูกฝัง
                  คติธรรม 7 ประการ คือ สัจจะพูดความจริง, ความซื่อสัตย์สุจริต, ความระลึกในหน้าที่, ความ

                  อดทนอดกลั้น, ความเป็นธรรม, ความเอาใจเขามาใส่ใจเรา และเมตตาธรรม ตั้งแต่เด็กๆ

                       ขณะเดียวกัน นักวิชาการชาวอเมริกันได้อธิบายว่า สหรัฐอเมริกาวางระบบการปลูกฝัง

                  Integrity ตั้งแต่บนโต๊ะอาหารในบ้านไปจนถึงระดับชุมชนวิชาชีพ ด้วยวรรคทองที่ว่า “เราจะไม่
                  โกหก ไม่โกง ไม่ขโมย และจะไม่ยอมที่จะให้ผู้ใดทำเช่นนั้น” ซึ่งสื่อความหมายที่ชัดเจน และ

                  นำไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวัฒนธรรมของชาติได้ง่าย

                       รัฐบาลมาเลเซียได้ให้ความหมาย Integrity ไว้ใน “National Integrity Plan” ว่า หมายถึง

                  “การบ่งบอกถึงคุณภาพเชิงประจักษ์ของความดีแบบองค์รวม และพฤติกรรมที่มีความสำคัญของ
                  บุคคลและองค์กร ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม ชุดของคุณค่าที่ดีงาม และแสดงความเป็นอัน

                  หนึ่งอันเดียวของการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน”


                       ขณะเดียวกันได้ให้ความหมาย Integrity สำหรับตัวบุคคลว่า หมายถึง “ความเป็นอันหนึ่ง
                  อันเดียวกันของการพูดและการกระทำของบุคคล ซึ่งการกระทำดังกล่าวของบุคลนั้นจะเป็นไปตาม
                  ศีลธรรม คุณธรรม กฎหมาย และไม่เป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อผลประโยชน์ของส่วนรวม”


                       สำหรับ Integrity ในมิติขององค์กร มาเลเซียให้ความหมายว่า “สิ่งที่จะชี้ให้เห็นถึงแนวทาง
                  การหล่อหลอมและปฏิบัติตามข้อควรปฏิบัติต่างๆ ตามกระบวนการและภาระงานที่ได้รับ

                  มอบหมาย ซึ่งองค์กรนั้นจะต้องปลูกฝังสั่งสอนให้สมาชิกในองค์กรปฏิบัติตามแนวทางนั้นจนเป็น
                                                                                               7
                  ธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นวัฒนธรรมขององค์กรในระยะต่อไป

                       สถาบันพระปกเกล้า (2554) จากรายงานการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรงในสังคม

                  ไทย : ปัญหา ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนา ได้ให้ความหมายของ “ความซื่อตรง” ว่า หมายถึง
                  “ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไร้เล่ห์เหลี่ยม ไม่คดโกง การกระทำที่ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา
                  ประพฤติตนสม่ำเสมอ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง รวมถึงการยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม” 8


                       ส่วนคำว่า “คอร์รัปชั่น” เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ได้บัญญัติในพระราชบัญญัติ
                  ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ว่า “การทุจริต

                  และประพฤติมิชอบ” แต่เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4   และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554)




                     7
                        วีรวิท คงศักดิ์.  โพสต์ทูเดย์,“หุ้นส่วนประเทศไทย”. 15 พ.ย.53

                     8

                        สถาบันพระปกเกล้า. อ้างแล้ว. 2557 หน้า 11
   340   341   342   343   344   345   346   347   348   349   350