Page 342 - kpi17073
P. 342
แนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริต
เพื่อสร้างดุลอำนาจที่แท้จริง
พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์*
“คอร์รัปชั่นเป็นหินปูนร้ายที่กัดกินสังคมของเรามาโดยตลอด เพราะเป็น
อาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ทำลายความเจริญก้าวหน้าของประเทศเรา ดังนั้น
จึงยอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้การคอร์รัปชั่นเป็นวัฒนธรรมในสังคมของเรา”
ข้อความนี้เป็นพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลาห์ บิน
อัล-ฮุสเซน พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอัชไมต์จอร์แดน ที่มีถึงประธาน
คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตชุดแรก ซึ่งทรงแต่งตั้งเมื่อปี ค.ศ.2007 หลัง
จากปรับปรุงกฎหมายเพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ
ต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 และให้สัตยาบันเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญานี้ 1
ถ้อยคำดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันแรงกล้าที่จะขจัดการ
ทุจริตให้หมดไปจากประเทศของพระองค์ จึงถูกนำมาเป็นปรัชญาในการปฏิบัติ
งานของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตของจอร์แดนมาจนถึงทุกวันนี้ และ
ตรงกับหลักการแก้ไขการทุจริตที่ทั่วโลกเห็นตรงกัน คือ ต้องมีเจตจำนงทาง
การเมือง (Political will) ที่ชัดเจน
ความเป็นมาของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต
ค.ศ. 2003 (United Nations Convention against Corruption 2003) เกิด
จากผลการพิจารณาในที่ประชุมสหประชาชาติว่า ปัญหาและภัยคุกคามจากการ
ทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมโลกได้ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้มีผลต่อเสถียรภาพและ
ความมั่นคงของสังคมโลก ทั้งนี้ เนื่องจากลักษณะของพฤติกรรมการทุจริต
คอร์รัปชั่นในปัจจุบัน มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบในลักษณะเครือข่ายข้าม
พรมแดนประเทศ จึงควรสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและ
ควบคุมปัญหานี้ ด้วยเหตุนี้ อนุสัญญาฉบับนี้จึงถือกำเนิดขึ้น โดยมีเป้าประสงค์
ในการสร้างมาตรฐานกลางในการดำเนินการเพื่อป้องกันและปราบปราม
พฤติกรรมที่เป็นการทุจริตคอร์รัปชั่นในรัฐภาคี และเพื่อกำหนดแนวทางและ
วิธีการในการให้ความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้มีผลใช้บังคับเมื่อ
* ข้าราชการบำนาญ และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
1 คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตจอร์แดน. 2555. เอกสารเผยแพร่.