Page 338 - kpi17073
P. 338
แนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริต
เพื่อสร้างดุลอำนาจอย่างแท้จริง
รองศาสตราจารย์ ดร.จุรี วิจิตรวาทการ*
หัวข้อเรื่องการจะต่อต้านการทุจริตอย่างไร เรื่องนี้โดยเฉพาะ CPI
ที่กระทำกันทุกปีโดยเฉพาะการประกาศว่าประเทศต่างๆ นั้นมีลำดับเท่าไร
ประเทศต้นๆ ที่มีคอรัปชั่นน้อยมาก ฟินแลนด์ เดนมาร์ก นิวซีแลนด์
สแกนดิเนเวีย สิงคโปร์สูงสุดของเอเชีย กลไกบังคับกำกับเขามี แต่เขาไม่ได้เน้น
ตรงนั้น ประเด็นที่เขาเน้นว่าทำไมประสบความสำเร็จในการต่อต้านการคอรัปชั่น
เพราะว่าจริงๆ แล้วประชาชนของเขาไม่รับการทุจริต นิดเดียวก็ไม่รับ นี่เป็น
ประเด็นที่สำคัญ เราก็มานั่งคิดดูเรื่องของการกำกับมนุษย์ให้ทำอะไรไม่ทำอะไร
สังคมไทยกฎหมายเป็นหลักเราเน้นกฎ ระเบียบ การบังคับใช้ เราค่อนข้างใส่ใจ
ในการแก้กฎหมายแก้อะไรเพื่อบังคับคน กฎหมายเราไม่แพ้ใคร องค์กรเรามี
มากกว่าอีก ป.ป.ช. ก.ก.ต. ตรงนี้เราเห็นว่ากลไกไม่ขาดแคลน แต่ทำไมแย่ลง
รุนแรงขึ้น ทำไมนักธุรกิจสองสามปีลุกขึ้นมาจับมือร่วมด้านคอรัปชั่น ปกติ
ไม่กล้าทำอะไรอย่างนี้ ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเชิญดิฉันพบประธานหอการค้าเมื่อสี่ปีกว่า
ถามว่าภาคธุรกิจเมื่อไรจะลุกมาช่วย เรื่องนี้ท่านไม่เห็นด้วย แต่ท่านเดินสาย
ทุกคนยังเกรงกลัวว่าจะถูกกีดกัน หลังจากนั้นอีกปีท่านลุกมาทำ คุณดุสิต
คุณชาญชัย ก็มีสถาบันกำกับกรรมการ มีวินัย ธุรกรรมบริษัทให้โปร่งใส ทั้ง
สองท่านเสียหมดแต่มีคนสานต่อ ช่วงหลังที่ต้องทำเพราะปัญหาเหมือนแท่งไอติม
ที่ถูกเลียเหลือแต่แท่งไม้สูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ลูกศิษย์บอก เลิกเลือกงานภาครัฐ
ทุกอย่าง ทำน้อยพอเพียงไม่ทำรัฐอีกก็โดนกดดัน ประเด็นคือทุจริตสูงขึ้นคนไม่กลัว
* สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ