Page 343 - kpi17073
P. 343

342     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  วันที่ 29 กันยายน 2546 และประเทศไทยได้ลงนามในข้อตกลงเข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญานี้
                  เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2546 2


                       ประเทศไทยของเรา ได้ตระหนักถึงภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติจากการทุจริตคอร์รัปชั่น
                  ของเจ้าหน้าที่ของรัฐมาตั้งแต่การปฏิรูปการเมืองการปกครองประเทศในปี 2540 จึงบัญญัติใน

                  รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบการทุจริตแห่งชาติ
                  มีหน้าที่ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่

                  หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
                  (ม.301) โดยมีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ
                  ทุจริตประพฤติชอบ พ.ศ.2542 เป็นหลักในการปฏิบัติงาน


                       ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี 2550 ได้เพิ่มประสิทธิภาพการทำหน้าที่

                  ของ ป.ป.ช. โดยดำเนินการกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  และเจ้าหน้าที่รัฐตั้งแต่ผู้อำนวยการ
                  กองหรือเทียบเท่าขึ้นไป รวมทั้งกำกับดูแลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ม.250)
                  ขณะเดียวกันสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ตราพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการ

                  ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลเกี่ยวกับ
                  การกระทำการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าลงมา


                       เป็นที่น่าสังเกตว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี 2550 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่
                  ป.ป.ช. ในมาตรา 250 (5) กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

                  และมาตรา 279 วรรคสาม ได้บัญญัติอำนาจให้ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวนผู้ดำรงตำแหน่งทางการ
                  เมืองกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยให้ถือเป็นเหตุที่จะถูก

                  ถอดถอนจากตำแหน่งตามมาตรา 270 ซึ่งแสดงว่า ให้อำนาจ ป.ป.ช.ในการดำเนินการต่อ
                  ผู้กระทำความผิดกรณีทุจริตประพฤติมิชอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งกรณีผิดกฎหมาย
                  และฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง


                       นอกจากนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ

                  ทุจริต ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 2554 ได้เพิ่มขีดความสามารถซึ่งเปรียบเสมือนการติดอาวุธให้กับ
                  ป.ป.ช. หลายประการ อาทิเช่น ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องแสดงรายการทรัพย์สินและ

                  หนี้สินที่อยู่ในต่างประเทศด้วยและจะต้องแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มอบหมายให้อยู่ใน
                  ความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม การให้อำนาจ
                  คณะกรรมการ ป.ป.ช.ออกคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่คณะ

                  กรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบพบว่ามีความเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นผิดปกติไว้เป็นการชั่วคราวได้
                  ในระหว่างที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยังไม่มีคำสั่งให้ทรัพย์สิน

                  ที่เพิ่มขึ้นผิดปกตินั้นตกเป็นของแผ่นดิน เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใด
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4      2   คณะกรรมการพิจารณาพันธกรณีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 [Online].



                  2550. “อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ 2003”. Available: http://www.oja.go.th/doc/
                  Lists/doc1/ Attachments/238/oja_report_UNCAC9491.pdf, (10 ต.ค.57)
   338   339   340   341   342   343   344   345   346   347   348