Page 347 - kpi17073
P. 347
346 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า “ทุจริตต่อหน้าที่” ตามกฎหมาย ป.ป.ช.มีความหมายตรงกับ
“คอร์รัปชั่น” ตามความหมายขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ กล่าวคือ “การใช้อำนาจรัฐ
ที่ได้รับมอบตามตำแหน่งหน้าที่โดยทางมิชอบ เพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ซึ่งมีผล
มาจากการความบกพร่องใน “คุณธรรมความซื่อตรง” (Integrity) ของผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่
ของรัฐ”
คุณธรรมความซื่อตรง
ถ้าพิจารณาความหมายพื้นฐาน “คุณธรรม” (Virtue) หมายถึง สภาพคุณงามความดีที่เป็น
ธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของการอยู่ร่วมกันในสังคม
ส่วน “จริยธรรม” (Ethics) หมายถึง ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นจาก
คุณธรรมในตัวผู้ปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม
เมื่อรวมกันระหว่าง “คุณธรรมและจริยธรรม” อาจจะสรุปความได้ว่า “เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์
รู้ได้ด้วยตนเองว่า สิ่งใดควรปฏิบัติ สิ่งใดควรละเว้นการปฏิบัติ เพื่อความสงบสุขของการอยู่ร่วม
กันของคนในสังคม” ซึ่งหมายถึง การเป็นคนมี “มารยาท” (Etiquette) นั่นเอง
ถ้าจะแยกแยะถึงความแตกต่างระหว่าง “คุณธรรม” กับ “จริยธรรม” อาจกล่าวได้ว่า
“คุณธรรม” เป็นสิ่งฝังลึกอยู่ในตัวบุคคล ซึ่งเรียกว่า “จิตวิญญาณ” (Spiritual) ทำให้ประ
พฤติดีมีประโยชน์ต่อสังคมได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีคนบอกหรือเตือน จึงสามารถสอนแนะนำ
ให้ผู้อื่นประพฤติดีได้ และได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างในเรื่องคุณงามความดีให้กับคนอื่นใน
สังคม
ส่วน “จริยธรรม” มีระดับต่ำกว่าคุณธรรม เนื่องจากต้องมีคนบอกหรือเตือนเพื่อปลุก
จิตสำนึกว่า สิ่งนี้ดีพึงปฏิบัติ สิ่งนี้ไม่ดีพึงไม่ปฏิบัติ ซึ่งสิ่งที่เตือนกันในสังคม คือ จรรยาบรรณ
(Code of Ethics) และประมวลจริยธรรม (Code of Conducts) โดยอาจมีการลงโทษเมื่อฝ่าฝืน
บ้าง เช่น การให้ออกจากสังคมนั้น หรือมีการลงโทษทางสังคม (Social sanction) อย่างที่เริ่มมี
ปรากฏขึ้นในสังคมไทยขณะนี้ 9
10
ธานินทร์ กรัยวิเชียร ให้ความเห็นว่า หัวใจของคุณธรรมและจริยธรรมก็คือ “การยึดมั่น
ในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม” หรือ “Integrity” ซึ่งมีความหมายลึกซึ้งและกว้างขวางมาก เพราะเป็น
ที่รวมของความถูกต้องทั้งหลายทั้งปวง และหากผู้ใดเป็นผู้ที่ยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมแล้ว
ก็ย่อมจะต้องประพฤติตนอยู่ในกรอบของคุณงามความดี กฎหมายและศีลธรรม
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 เจ้าหน้าที่ของรัฐ. 2551 หน้า 33
วีรวิท คงศักดิ์. โพสต์ทูเดย์, “หุ้นส่วนประเทศไทย”. 20 ต.ค.51
9
10
ธานินทร์ กรัยวิเชียร. อ้างใน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและ