Page 346 - kpi17073
P. 346

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   345


                      ได้ใช้เพียงคำว่า “ทุจริต” และนิยามความหมายไว้ในมาตรา 4 ว่า


                            “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่
                      หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่
                      ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหา

                      ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น


                            จากอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.และนิยามศัพท์ดังกล่าว อาจอนุมานได้ว่า
                      “คอร์รัปชั่น”ในกฎหมายไทยใช้คำว่า “ทุจริต” โดยมีลักษณะความผิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่
                      ของรัฐ 3 กรณี คือ (1) ร่ำรวยผิดปกติ (2) ทุจริตต่อหน้าที่ และ (3) กระทำผิดต่อตำแหน่ง

                      หน้าที่ราชการหรือความผิดต่อหน้าที่ในการยุติธรรม โดยมีพฤติกรรม “ปฏิบัติหรือละเว้นการ
                      ปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้

                      โดยชอบสำหรับตนเองและผู้อื่น”

                            สำหรับบทลงโทษกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดไว้ในมาตรา 123 ว่า


                            “มาตรา 123 เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจ

                      ทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น เพื่อแสวงหา
                      ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่

                      หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

                            ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในปี 2554 ได้

                      พิจารณาว่า กฎหมายเดิมมิได้กล่าวถึง ความเสียหายจากการปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติ รวมถึง
                      มิได้กำหนดโทษกรณีปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตไว้ จึงมีการเพิ่มบทลงโทษ ดังนี้


                            “มาตรา 123/1 เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือ
                      หน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดย “มิชอบ” เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด

                      หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือ
                      ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”


                            คำว่า “มิชอบ” ตามประมวลกฎหมายอาญา หมายถึง “ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
                      ของทางราชการ คำสั่งผู้บังคับบัญชา มติคณะรัฐมนตรี แบบธรรมเนียมของทางราชการ หรือตาม

                      ทำนองคลองธรรม คือ ไม่เป็นไปตามที่ถูกที่ควร”


                            ดังนั้น ขอบเขตของการกระทำผิดกรณี “ทุจริต” ตามกฎหมาย ป.ป.ช. จึงครอบคลุมถึงการ
                      ใช้อำนาจหน้าที่ทางราชการที่ไม่เป็นไปตาม กฎหมาย คำสั่งผู้บังคับบัญชา มติคณะรัฐมนตรี
                      แบบธรรมเนียมของทางราชการ และตามทำนองคลองธรรม ซึ่งหมายถึง “ไม่เป็นตามที่ถูก

                      ที่ควร” หรือ “จริยธรรม” เพื่อแสวงหาประโยชน์หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด               การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
   341   342   343   344   345   346   347   348   349   350   351