Page 355 - kpi17073
P. 355

354     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  นำมาใช้อ้างอิงเพื่อความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันซึ่งส่งผลต่อความบกพร่องในคุณธรรมและ
                  ความซื่อตรง ชี้ให้เห็นถึงภาวะไร้ศีลธรรม กฎเกณฑ์ และมาตรฐานอันดีงามของสังคม (Anomie)

                  การตระหนักถึงปัญหาคอร์รัปชั่นและร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง
                  ถือเป็นจุดคานงัดที่สำคัญในการปฏิรูปสังคมไทยให้ใสสะอาด บนพื้นฐานของหลักคุณธรรมที่ทุก
                  สังคมจำเป็นต้องมีซึ่งก็คือความซื่อตรงโปร่งใสที่อยู่ในทั้งระบบสังคมและพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

                  ของคนในสังคม


                       อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาการทุจริตและการคอร์รัปชั่นด้วยการสร้างสังคมไทยให้เป็น
                  สังคมคุณธรรมว่าด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความซื่อตรงและโปร่งใสนั้น มิใช่เรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้
                  โดยง่ายหรือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่าง

                  จริงจังของภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและควรกำหนดเป็นวาระ
                  สำคัญแห่งการพัฒนาประเทศ


                       ดังนั้น การที่จะทำให้สังคมไทยมีการพัฒนาในด้านความซื่อตรงได้นั้น จำเป็นต้องมีการใช้
                  กระบวนการเสริมสร้างและกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization) ที่สถาบันหลักของสังคม

                  อันได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “บวร”
                  ตลอดจนภาคีภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่ต้องร่วมแรงร่วมใจกันในการปลูกฝัง เสริมสร้าง และ

                  กล่อมเกลาสมาชิกในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนของชาติ โดยใช้เครื่องมือคือหลัก
                  ธรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามดั้งเดิมที่เคยมีอยู่ เพื่อขับเคลื่อนและปลูกฝัง
                  แนวความคิดเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ซื่อตรงให้หยั่งรากลึกอย่างมั่นคงในสังคมไทย (ศูนย์คุณธรรม,

                  2554) 15


                       สืบเนื่องจากการขับเคลื่อนโครงการสมัชชาคุณธรรม ปี 2553 ภายใต้กรอบแนวคิดหลัก
                  “ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ พอเพียง” ประเด็นข้าราชการและการเมือง โดยความร่วมมือระหว่าง
                  6 เครือข่าย คือ คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตฯ วุฒิสภา, สำนักงานผู้ตรวจ

                  การแผ่นดิน, ศูนย์คุณธรรม, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, คลังสมอง วปอ.
                  เพื่อสังคม และกรมการศาสนา ร่วมกันจัดทำโครงการระดมความคิดเพื่อจัดทำแผนความซื่อตรง

                  แห่งชาติ ซึ่งมีการจัดสัมมนาขึ้น 3 การสัมมนาใน 2 ครั้งแรกได้เชิญบุคคลที่มีความซื่อตรงเป็นที่
                  ประจักษ์จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจมาแลกเปลี่ยน
                  เรียนรู้ถึง แนวทางการปลูกฝังความซื่อตรงในตัวบุคคลและในองค์กร ซึ่งผลสรุปจากการสัมมนา

                  พบว่า จำเป็นต้องใช้ภาวะความเป็นผู้นำด้านความซื่อตรงมาขับเคลื่อนให้มีการปรับเปลี่ยน
                  วัฒนธรรมองค์กรและมิติของความซื่อตรงที่สมควรปลูกฝังให้กับหน่วยงานภาครัฐ คือ การ

                  น้อมนำพระราชนิพนธ์ “หลักราชการ” ในเรื่องความซื่อตรงต่อหน้าที่ และความซื่อตรงต่อบุคคล
                  ทั่วไป ซึ่งหมายถึง “ประชาชน” จึงได้นำแนวคิดนี้มานำเสนอในการสัมมนาครั้งที่ 3 ซึ่งเชิญ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4   ประชุม และให้ข้อสังเกตที่มีคุณค่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2553
                  ผู้บริหารระดับสูงของประเทศมาร่วมสัมมนา และท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้เกียรติมาร่วมการ







                    15
                        ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). 2554. แผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ
   350   351   352   353   354   355   356   357   358   359   360