Page 324 - kpi17073
P. 324

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   323


                            (4) ต้องทำให้การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำในระดับอื่นยึดหลักสมรรถนะและ
                      คุณธรรม รวมทั้งปลอดจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง


                              เมื่อได้มีการจัดจำแนกตำแหน่งข้าราชการประจำระดับสูงที่มีหน้าที่รับผิดชอบขับเคลื่อน
                      นโยบายหรือยุทธศาสตร์ของหน่วยงานออกมาอย่างชัดเจน และมีการเปิดโอกาสให้ฝ่ายการเมือง

                      สามารถปรับเปลี่ยนข้าราชการในกลุ่มนี้ได้แล้ว การบริหารงานบุคคลของข้าราชการประจำ
                      ในตำแหน่งต่างๆ นอกเหนือจากนี้ ย่อมจำเป็นต้องยึดหลักสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งและหลัก

                      คุณธรรมเป็นหลักการสำคัญในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายอย่างเคร่งครัด โดยกระบวนการใน
                      การพิจารณาความดีความชอบ การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำ ส่วนราชการต่างๆ จะต้อง
                      ยึดถือระเบียบหลักเกณฑ์ที่ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนได้กำหนดเอาไว้เป็นสำคัญไม่มี

                      กรณียกเว้น


                              นอกจากนั้น ยังต้องป้องกันมิให้ข้าราชการการเมืองเข้ามามีบทบาทในการแทรกแซง
                      การบริหารงานบุคคลของข้าราชการประจำในตำแหน่งอื่นๆ กล่าวคือ หากพบว่าฝ่ายการเมือง
                      มีการใช้อำนาจแทรกแซงการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประจำในหน่วยงานใด ให้ผู้ที่ได้รับ

                      ผลกระทบสามารถรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษต่อข้าราชการการเมือง
                      ผู้นั้นต่อไป ทั้งนี้ ให้มีการกำหนดให้การแทรกแซงการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประจำ

                      ในตำแหน่งอื่นๆ ที่มิใช่ตำแหน่งที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายหรือยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเป็น
                      มูลฐานความผิดหนึ่งในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมาย
                      การป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ


                            (5) การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องโดยมุ่งให้ผู้มีส่วนได้เสีย

                      ได้เข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น


                              นอกจากการปรับปรุงในสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้ว เพื่อให้ดุลยภาพของทั้งฝ่ายการเมือง และ
                      ข้าราชการประจำมีความเหมาะสมภายใต้พื้นฐานหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น
                      เรายังอาจจำเป็นต้องพิจารณาถึงโครงสร้างองค์ประกอบของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ทั้งใน

                      องค์ประกอบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรม โดยหลักการ
                      สำคัญ ก็คือ ในคณะกรรมการเหล่านี้อาจำเป็นต้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้าไปมีส่วนร่วม

                      มากยิ่งขึ้น

                              ดังเช่นในกรณีขององค์ประกอบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนนั้น นอกจาก

                      กรรมการที่เป็นโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว อาจมีการกำหนดสัดส่วนให้มีตัวแทนของ
                      ข้าราชการพลเรือนได้ร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย เช่นเดียวกันกับกรรมการในส่วนที่เป็นตัวแทน
                      จากภาคประชาสังคม ก็ควรกำหนดให้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเช่นกัน เพราะในแง่หนึ่งแล้วต้อง

                      ยอมรับว่าการทำงานของข้าราชการนั้นก็เพื่อเป็นการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนด้วย


                              และในกรณีของคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรม อาจมีการพิจารณาให้ในคณะกรรมการ                        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
                      มีองค์ประกอบที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้มุมมองในเรื่อง “คุณธรรม” สำหรับ

                      ข้าราชการเป็นมุมมองที่กว้างและแตกต่างไปจากมุมมองของ “คุณธรรม” แบบราชการ ข้อเสนอที่
   319   320   321   322   323   324   325   326   327   328   329