Page 320 - kpi17073
P. 320
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 319
ประจำให้เพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามุมมองของนักวิชาการสาขาต่างๆ ที่มี
ต่อกลไกระบบข้าราชการ (ซึ่งรวมถึงข้าราชการประจำด้วยนั้น) มักจะมีลักษณะเป็นมุมมองในเชิงลบ
ที่มองว่ากลไกระบบราชการเป็นกลไกที่ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยมัก
มองว่ากลไกระบบราชการมีการทำงานที่ล่าช้า และถูกยึดโยงเข้ากับกฎระเบียบต่างๆ เป็นจำนวน
มาก ทำให้กลไกระบบราชการเป็นกลไกที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ที่มีความ
เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว 37
ดังนั้น การปรับปรุงดุลความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการทั้ง 2 กลุ่มในที่นี้ ย่อมจำเป็นต้อง
คำนึงถึงประสิทธิภาพของกลไกระบบราชการเองด้วย นั่นคือ การปรับปรุงดุลความสัมพันธ์นี้
จำเป็นต้องมีส่วนช่วยทำให้กลไกระบบราชการมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้
กลไกระบบราชการเป็นกลไกที่สามารถขับเคลื่อนนโยบายของฝ่ายการเมืองและจัดการแก้ไข
ปัญหาต่างๆของประชาชนได้อย่างรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม
(4) การปรับปรุงดุลความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำที่จะ
เสนอนี้ ต้องมุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสาธารณะไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และต้องให้สาธารณชน
เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานของทั้ง 2 ฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น ต่อประเด็นนี้ ผู้ศึกษาวิจัย
มีความเห็นว่าการจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมือง
และข้าราชการประจำจะต้องมิใช่เป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้ประโยชน์สำหรับฝ่ายการเมือง หรือ
ฝ่ายข้าราชการประจำ แต่การดำเนินการดังกล่าวต้องมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้การทำงานของทั้ง
ฝ่ายข้าราชการการเมือง และข้าราชการประจำเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะให้มากที่สุด
นอกจากนั้นแล้ว ในกระบวนการทำงานของทั้ง 2 ฝ่าย ที่มีการกล่าวว่าข้าราชการการเมือง
มีบทบาทที่สำคัญในการกำหนดนโยบาย ในขณะที่ฝ่ายข้าราชการประจำมีบทบาทในการขับเคลื่อน
นโยบายให้บังเกิดผลในทางปฏิบัตินั้น ผู้ศึกษาวิจัยมีความเห็นว่าเพื่อให้เป็นการสอดคล้องต่อ
หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เราจำเป็นจะต้องเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน หรือ
สาธารณะเข้ามามีบทบาทในกระบวนการกำกับและตรวจสอบการทำงานของโครงสร้างทั้ง 2 ส่วน
ให้เพิ่มมากขึ้นด้วย
จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ สามารถสรุปได้ว่าหลักการที่สำคัญที่เป็นพื้นฐานสำหรับ
การปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ ก็คือ ข้อแรก ความ
สัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทั้งสองส่วน ต้องเป็นความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตย โดยข้าราชการประจำจะต้องทำหน้าที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายของฝ่าย
การเมือง ข้อที่สอง ความถูกต้อง การปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
ข้าราชการประจำแม้ต้องทำหน้าที่สนองนโยบายของฝ่ายการเมือง แต่ระบบที่ออกแบบต้องช่วย
ป้องกันมิให้ข้าราชการประจำตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมืองในการทำผิดกฎหมายรวมถึงทุจริต
ข้อที่สาม การทำงานของกลไกราชการต้องเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ลดความล่าช้า และ
37 Gajduschek, Gyorgy, “Bureaucracy: Is It Efficient? Is It Not? Is That the Question?” การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
Administration and Society Vol.34, No. 6 (January 2003): pp. 707-709.