Page 316 - kpi17073
P. 316

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   315


                      ว่าระบบราชการของสหรัฐอเมริกาเป็นระบบที่ให้อำนาจแก่ฝ่ายการเมืองไว้กว้างขวางพอสมควร
                      ดังจะเห็นได้จากตำแหน่งที่ข้าราชการการเมืองระดับสูงที่แต่งตั้งมาโดยประธานาธิบดีนั้นมีจำนวน

                      ค่อนข้างมาก เฉพาะที่ต้องมีการเสนอให้วุฒิสภาให้การรับรองยังมีจำนวนมากถึงกว่า 1,500 อัตรา

                         ป  น:   า สั พัน      ้ารา การประ      า เ ้


                            ในส่วนของประเทศ “ญี่ปุ่น” นั้นถือเป็นประเทศที่ฝ่ายข้าราชการประจำมีความเข้มแข็งกว่า
                      ฝ่ายข้าราชการการเมือง เนื่องโครงสร้างทางการเมืองของประเทศญี่ปุ่นที่ถูกออกแบบมาให้ฝ่าย
                      บริหารมาจากการเลือกตั้งของฝ่ายนิติบัญญัติและต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ทำให้เสถียรภาพของ

                      ฝ่ายบริหารนั้นขึ้นอยู่กับความไว้วางใจของรัฐสภา และถึงแม้ในปัจจุบันพรรคเสรีประชาธิปไตยจะมี
                      เสียงข้างมากในสภาแต่ปรากฏว่ารัฐบาลที่มาจากพรรคเสรีประชาธิปไตยกลับไม่มีเสถียรภาพ

                      เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงบุคคลที่เข้ามาเป็นผู้นำของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้
                      ข้าราชการประจำมีความเข้มแข็งและมีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดิน
                      มากกว่าข้าราชการการเมือง


                            ประกอบกับภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นได้สร้างค่านิยมและวัตถุประสงค์

                      ร่วมกันในการเป็นรัฐที่มุ่งพัฒนา (Developmental State)ที่มีข้าราชการประจำเป็นกลไก
                      ขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว โดยมีบทบาทในการวางนโยบายทางเศรษฐกิจและนโยบายในการ
                      พัฒนาประเทศของญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้จึงสร้างให้เกิดวัฒนธรรมแบบราชการบางอย่าง เช่น การสร้าง

                      เครือข่ายของข้าราชการประจำที่จบการศึกษามาจากสถานศึกษาเดียวกันที่มีความเข้มแข็ง
                                                                                                              31
                      (ในกรณีที่ชัดเจนมาก คือ เครือข่ายข้าราชการที่จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย

                      โตเกียว)

                            หรือปรากฏการณ์ Amakudari ที่สืบเนื่องมาจากเครือข่ายข้าราชการที่จบการศึกษามาจาก

                      สถาบันเดียวกันที่เข้มแข็ง ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ Amakudariก็คือ การลาออกหรือการยอมพ้นจาก
                      ตำแหน่งของข้าราชการประจำระดับสูง เพื่อเปิดทางให้กับข้าราชการที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่น หรือ

                      รุ่นน้อง ที่จบการศึกษามาจากสถาบันเดียวกันได้ขึ้นดำรงตำแหน่งสำคัญนั้นแทน แต่ทว่าผู้ที่ออกจาก
                      ตำแหน่ง ก็จะได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารหรือผู้อำนวยการ
                      ในองค์กรเอกชนที่มีความใกล้ชิดกับราชการ หรือองค์การมหาชนที่อาจมีค่าตอบแทนที่สูงมาก

                      เป็นการทดแทนโดยวัฒนธรรมดังกล่าวได้สร้างให้เกิดระบบอุปถัมภ์ภายในกระบวนการแต่งตั้งโยก
                      ย้ายข้าราชการประจำระดับสูงที่ฝ่ายข้าราชการประจำมีอำนาจสูงโดยที่ข้าราชการการเมือง

                      ไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงได้มากนัก


                            อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าในระยะหลัง ผู้ที่เป็นผู้นำรัฐบาลของญี่ปุ่น ต่างพยายาม
                      เข้าไปมีบทบาทในการลดทอนความเข้มแข็งของระบบราชการ และเข้าไปแทรกแซงระบบการ
                      บริหารงานบุคคลของข้าราชการประจำมากขึ้นโดยลำดับ เช่น เมื่อครั้งที่นาย Junichiro Koizumi


                         31   NiheerDasandi, The Politics-Bureaucracy Interface in Developing Countries: Characteristics,
                      Determinants, and Impact on Reform (Singapore: UNDP Global Centre for Public Service Excellence,   การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3

                      2014), pp. 6-9
   311   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321