Page 313 - kpi17073
P. 313
312 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
สัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายต่างมุ่งเข้าแทรกแซงฝ่ายตรงข้ามเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนมากกว่า
ผลประโยชน์ของประเทศชาติ ขณะเดียวกันยังแสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันยังไม่มีรูปแบบที่มีความ
เหมาะสมในการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ ดังนั้น
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหาตัวแบบและแนวทางในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง
ข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำที่เหมาะสม มีดุลยภาพที่เหมาะสม และสอดคล้องกับ
ประเทศไทยที่ผู้ศึกษาจะได้นำเสนอในลำดับต่อไปในบทความนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ
ในต่างประเทศ: กรณีศึกษาเพื่อพัฒนาตัวแบบที่เหมาะสมสำหรับ
ประเทศไทย
ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำในต่างประเทศ
นั้นผู้ศึกษาได้ให้ความสนใจกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการ
ประจำในสองประเทศที่มีความแตกต่างกันคือ ประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีจุดเด่นที่ฝ่ายข้าราชการ
การเมืองมีความเข้มแข็งกว่าข้าราชการประจำและประเทศญี่ปุ่นที่จุดเด่นอยู่ที่ฝ่ายข้าราชการ
ประจำมีความเข้มแข็งกว่าฝ่ายข้าราชการการเมือง ซึ่งรายละเอียดของความสัมพันธ์สามารถกล่าว
โดยสรุปได้ ดังนี้
ส รั เ ร กา: า สั พัน ้ารา การการเ า เ ้
“สหรัฐอเมริกา” ถือเป็นประเทศหนึ่งที่ข้าราชการการเมืองในฐานะฝ่ายบริหารของประเทศ
มีความเข้มแข็งกว่าฝ่ายข้าราชการประจำเนื่องจากโครงสร้างทางการเมืองของประเทศ
สหรัฐอเมริกานั้นได้มีการออกแบบระบอบการเมืองให้ฝ่ายบริหาร ซึ่งนำโดยประธานาธิบดีที่มา
23
จากการเลือกตั้ง มีความเข้มแข็ง (Strong Executive) และมีเสถียรภาพทางการเมืองที่สูง
(Political stability) เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ในโลกสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น
ทำให้ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามีอำนาจค่อนข้างสูงในกระบวนการแต่งตั้งและโยกย้าย
ข้าราชการประจำ
นอกจากนี้ความน่าสนใจที่สำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและ
ข้าราชการประจำของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นคงหลีกหนีมิพ้นระบบการบริหารงานบุคคลระดับ
สูงของระบบราชการสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นระบบที่สร้างให้เกิดความชัดเจนในความสัมพันธ์ระหว่าง
ข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายบุคคลากร
ระดับสูงในระบบราชการที่คำนึงถึงคุณค่าและความสำคัญของวิถีทางแห่งการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตย และดำรงอยู่บนหลักการที่ว่าอำนาจทางการเมืองและอำนาจทางการบริหารนั้น
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 Colleges) ก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่ากระบวนการเลือกตั้งดังกล่าวสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน
ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งระบบการบริหารงานบุคคลระดับสูงของรัฐบาลกลาง
แม้ว่ากระบวนการการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาจะเป็นการเลือกผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral
23