Page 318 - kpi17073
P. 318
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 317
การปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและ
ข้าราชการประจำในกรณีของประเทศไทย
การศึกษาทบทวนถึงพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองกับข้าราชการ
ประจำของไทยได้ทำให้เราเห็นว่าบรรยากาศทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาได้ส่งผล
ต่อดุลความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำให้มีการเปลี่ยนแปลงตาม
ไปด้วย กล่าวคือ ในยุคที่การเมืองไทยถูกอธิบายว่ามีลักษณะเป็นอำมาตยาธิปไตยนั้น ข้าราชการ
ประจำดูเหมือนจะมีความเข้มแข็ง และไม่ถูกกดดันหรือแทรกแซงจากข้าราชการการเมือง
ด้วยเหตุผลที่ว่าบุคคลที่เข้าไปทำหน้าที่เป็นข้าราชการการเมืองก็มีที่มาจากข้าราชการประจำด้วย
นั่นเอง ซึ่งปรากฏการณ์ข้างต้นได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเมืองไทยมีลักษณะที่เปิดกว้างมากขึ้น
และมีการเลือกตั้งตามวิถีทางของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ปรากฏการณ์เช่นนี้ ทำให้
ข้าราชกการเมืองซึ่งทำหน้าที่กำหนดนโยบายนั้นมีที่มาจากการเมืองจริงๆ ซึ่งภายใต้สถานการณ์
เช่นนี้ข้าราชการประจำย่อมต้องทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่สำคัญให้กับข้าราชการการเมืองในการ
ผลักดันนโยบายที่ฝ่ายการเมืองกำหนดไว้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ ซึ่งบ่อยครั้งการที่ฝ่ายข้าราชการ
การเมืองใช้ข้าราชการประจำในการขับเคลื่อนนโยบายของตนนั้น มักถูกมองว่าฝ่ายข้าราชการ
ประจำเองนั้นโดนแทรกแซงการปฏิบัติงาน ซึ่งในหลายกรณีอาจรวมไปถึงการถูกกดดันให้ทำใน
สิ่งที่ไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมายด้วย
ดังนั้นแล้วหากในอนาคต การเมืองไทยเกิดพัฒนาการไปในทิศทางที่เป็นประชาธิปไตยมาก
ยิ่งขึ้น ก็ย่อมมีความจำเป็นที่จะต้องวางมาตรการ หรือกลไกบางอย่างเพื่อป้องกันมิให้ฝ่าย
การเมืองสามารถใช้อำนาจหรืออิทธิพลแทรกแซงกลไกข้าราชการประจำได้ แต่ในขณะเดียวกัน
ก็จำเป็นต้องคิดคำนึงถึงมาตรการหรือกลไกที่จะเอื้อให้ฝ่ายการเมืองสามารถใช้ข้าราชการประจำ
ให้ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนนโยบายของฝ่ายการเมืองให้เกิดมรรคผลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
ตราบเท่าที่สิ่งที่ฝ่ายการเมืองร้องขอให้ข้าราชการประจำปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งที่ชอบด้วยระเบียบ
กฎหมาย และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ หรืออาจกล่าวได้อีกนัยยะหนึ่งว่า เพื่อรองรับต่อ
พัฒนาการทางการเมืองภายใต้วิถีทางของประชาธิปไตย เราจึงจำเป็นต้องสร้างหรือออกแบบ
มาตรการ และกลไกที่เหมาะสมที่จะช่วยรักษาดุลความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและ
ข้าราชการประจำให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยนั่นเอง
ทั้งนี้ในการจัดทำข้อเสนอแนะในเรื่องดังกล่าว ผู้ศึกษาได้นำเอาประสบการณ์ที่ได้จากการ
ทบทวนกรณีศึกษาจากต่างประเทศในงานศึกษาวิจัยชิ้นนี้มาประกอบการพิจารณาเพื่อการพัฒนา
ข้อเสนอแนะด้วยซึ่งข้อเสนออาจกล่าวโดยสรุปให้เห็นได้ทั้งในส่วนที่เป็นหลักการ และข้อเสนอ
ในทางปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้คือ
ลักการส ั พ น าน นการ า า รการ ละกล กส รับการปรับ ล า สั พัน
ระ า ้ารา การการเ ละ ้ารา การประ
ในการจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงดุลความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
ข้าราชการประจำนั้น ผู้ศึกษาได้ยึดหลักการสำคัญดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา