Page 323 - kpi17073
P. 323

322     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                         อย่างไรก็ตาม การใช้อำนาจโยกย้ายดังกล่าวของข้าราชการการเมืองที่บริหารหน่วยงาน
                  เหล่านั้น มิใช่เป็นการใช้อำนาจโดยปราศจากเงื่อนไขกำหนด กล่าวคือ หากรัฐมนตรีว่าการ

                  ที่กำกับดูแลหน่วยงานระดับกระทรวงหรือกรมใดมีความประสงค์ที่จะโยกย้ายสับเปลี่ยนบุคลากร
                  เหล่านั้นออกจากตำแหน่งจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้


                         (3.1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ประสงค์จะใช้อำนาจดังกล่าวจะต้องมีระยะเวลาในการ
                  ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับข้าราชการประจำระดับสูงที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนนโยบายหรือยุทธศาสตร์

                  ของหน่วยงานมาแล้วอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน เพื่อให้ทั้งฝ่ายของ
                  ข้าราชการการเมือง และข้าราชการประจำได้มีโอกาสและระยะเวลาในการศึกษาถึงรูปแบบและ
                  วิธีการในการทำงานของแต่ละฝ่าย รวมถึงปรับแนวทางในการทำงานร่วมกัน


                         (3.2) หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสงค์ที่จะโยกย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการกลุ่ม

                  ดังกล่าว จะต้องแสดงเหตุผล รวมถึงข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีความน่าเชื่อถือ และ
                  สามารถตรวจสอบได้ ประกอบเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าข้าราชการประจำที่ถูกโยกย้ายออกจาก
                  ตำแหน่งไม่ให้ความร่วมมือ หรือไม่สามารถสนองตอบต่อนโยบายของฝ่ายการเมืองได้จริง

                  โดยต้องแสดงเหตุผลประกอบการโยกย้ายนั้นโดยเปิดเผยต่อสาธารณชนโดยจะต้องมีการจัดทำ
                  คำแถลงอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ก่อนการใช้อำนาจดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการจะต้อง

                  แจ้งเตือนข้าราชการประจำให้ทราบล่วงหน้า และให้เวลาที่เหมาะสม สำหรับการปรับปรุงการทำงาน
                  ของข้าราชการประจำผู้นั้น


                         (3.3) การใช้อำนาจดังกล่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไม่สามารถกระทำได้ หากการ
                  สั่งการของรัฐมนตรีหรือฝ่ายการเมือง เป็นการสั่งการหรือแทรกแซงให้ข้าราชการประจำกระทำใน

                  สิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือประกาศต่างๆของทางราชการ หรือเป็นการสั่งการ
                  แทรกแซงให้ข้าราชการประจำดำเนินการในสิ่งที่ส่อไปในทางที่ทุจริตและประพฤติมิชอบต่อหน้าที่
                  ซึ่งหากเป็นกรณีเช่นนั้นข้าราชการประจำที่ถูกโยกย้ายสามารถยื่นเรื่องคัดค้าน การโยกย้าย รวมทั้ง

                  ยื่นหลักฐานประกอบที่จะแสดงให้เห็นว่าการสั่งการของฝ่ายข้าราชการการเมืองเป็นการสั่งให้
                  ดำเนินการในสิ่งที่ขัดหรือมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อคัดค้านนั้นเป็นจริง

                  ให้ถือเป็นหลักฐานความผิดในการดำเนินคดีแก่ข้าราชการการเมืองผู้นั้นตามกฎหมายว่าด้วย
                  การป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต่อไป


                         (3.4) การโยกย้ายข้าราชการประจำระดับสูงที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนนโยบายหรือ
                  ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานตามข้อเสนอแนะนี้ มิใช่ถือเป็นการลงโทษข้าราชการประจำผู้นั้น แต่

                  เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำทำงานร่วมกันได้อย่างมี
                  ประสิทธิภาพ ดังนั้น ในการโยกย้ายให้คำนึงถึงการโยกย้ายในลักษณะของการสับเปลี่ยนตำแหน่ง

                  ระหว่างข้าราชการประจำระดับสูงที่มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   ในหน่วยงานอื่นๆ ก่อนเป็นลำดับแรกเว้นแต่ไม่สามารถดำเนินการได้จริงๆ ก็ให้ดำเนินการโยกย้าย

                  ข้าราชการผู้นั้นตามความเหมาะสมแต่ต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญที่ว่าการย้ายนี้มิได้เป็นการ

                  ลงโทษ
   318   319   320   321   322   323   324   325   326   327   328