Page 326 - kpi17073
P. 326
ดุลอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ
ดร.เชาวนะ ไตรมาศ*
จุดหนึ่งที่ผมเห็นว่า ในความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายนี้ ในแนวความคิด
ปัจจุบัน รวมทั้งสากล ของไทยกระแสหลักก็คือความไม่ลงตัวของทั้งสองฝ่ายนี้
โดยในหลายๆ ประเทศก็ยังเป็นการแสวงหาความลงตัว ซึ่งในแต่ละประเทศก็มี
แนวทางสร้างความลงตัวที่แตกต่างกันออกไป สำหรับของไทยนั้นผมก็เห็นด้วย
กับท่านวิทยากรทั้งสอง ว่าเรายังไม่สามารถกำจัดปัญหาการอยู่รวมกันได้ แต่เรา
จะต้องยอมรับการอยู่รวมกันของสองสิ่งนี้ให้ได้ โดยการอยู่รวมกันนั้น จะต้องอยู่
ด้วยภาระหน้าที่ที่มีความผูกพัน และสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยรวมกัน
ผลักดันการบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพเป็นสำคัญและตรงนี้คือ
เป้าหมายที่พึงประสงค์ที่ทุกคนอยากจะได้จากการอยู่รวมกันและใช้อำนาจ
รวมกัน โดยจุดที่ผมเห็นว่าข้าราชการเหมือนคนขับรถ ฝ่ายการเมืองคือ
คนนำทาง ซึ่งไม่สามารถทำแทนกันได้ แต่ปัญหามันมีอำนาจทับซ้อน ซึ่งมาก
หรือน้อย จะเป็นคุณหรือเป็นประโยชน์นั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และช่วงจังหวะ
ซึ่งมันยังไม่มีคำตอบที่แท้จริงและแน่ชัดต่อทิศทางความสัมพันธ์โดยจากที่ผม
ตรวจสอบ ความสัมพันธ์รวมกันของการใช้อำนาจที่ซ้อนทับกันนั้น ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน ในตัวรัฐธรรมนูญ ตัวของระบบนโยบาย ซึ่งใน
สามส่วนนี้ มันยังประสานกันไม่สนิท โดยในตัวของรัฐธรรมนูญ พยายามจะแบ่ง
แยกสองฝ่ายให้เห็นอย่างชัดเจน แต่พอมาแบ่งแยกจริงๆ ในเนื้อหา มันยังไม่
สามารถแบ่งแยกกันได้จริงๆ เช่น บอกให้ข้าราชการเป็นกลางทางการเมือง แต่
ให้โควต้าในสภาสูง 15 คน หรือบอกให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักนิติธรรม แต่ให้
ข้าราชการตั้งสหภาพได้ หรือจะเป็นเรื่องการให้ข้าราชการประจำ เข้าไปมี
บทบาทในทางนิติบัญญัติต่างๆ ซึ่งอันนี้เป็นปัญหาในตัวเนื้อของรัฐธรรมนูญ
* เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ