Page 328 - kpi17073
P. 328

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   327


                      อำนาจรวมกัน ทำให้ไม่มีองค์กรที่มีลักษณะเป็นตัวเชื่อม คล้ายๆ กับตัวกลาง มันจึงทำงาน
                      สลับกันได้ และในเรื่องของอำนาจหน้าที่ที่มีความซ้อนทับกัน ด้านของนโยบายก็เช่นกัน เมื่อ

                      ทำงานจึงซ้อนทับกันและเมื่อมีปัญหาในประเด็นใช้อำนาจ จึงไม่มีใครผิดและไม่สามารถประสาน
                      กันได้ เพราะมันมีอำนาจของตัวมันเองที่ซ้อนทับกันอยู่ ไหลกันไปมาอยู่


                            ด้านแนวโน้มช่องว่างจากความต่างของทั้งสองอำนาจ ฝ่ายการเมืองต้องการควบคุม
                      ส่วนฝ่ายประจำต้องการอิสระ คือ ในฝ่ายประจำนั้นจะไม่ผูกพันกับฝ่ายการเมืองแต่ต้องการอิสระ

                      มากกว่า ส่วนฝ่ายการเมืองนั้นต้องการใช้ความเป็นตัวแทนตอบสนองประโยชน์ต่อกลไกทาง
                      การเมือง ส่วนฝ่ายข้าราชการประจำนั้นต้องการใช้กลไกสนองความเป็นประโยชน์ทั่วไปในตัวแทน
                      ของความเป็นรัฐ การใช้อำนาจของฝ่ายข้าราชการนั้นถือกฎหมายเป็นหน้าที่ ดังนั้น เป้าหมายของ

                      ทั้งสองอำนาจจึงแตกต่างกันเพราะมีรูปแบบต่างกัน จึงมีจุดที่ขัดกัน ฝ่ายการเมืองต้องการมุ่งผลได้
                      ต้องการใช้อำนาจเพื่อประสบความสำเร็จเชิงนโยบาย ส่วนฝ่ายข้าราชการประจำนั้นต้องการใช้

                      อำนาจที่รับรองด้วยกฎหมาย ฐานคิดของทั้งสองฝ่ายจึงมีความแตกต่างกัน ในผลลัพธ์มันจึง
                      เป็นการขัดกันโดยธรรมชาติ และในด้านแนวการพึ่งพาของทั้งสองฝ่ายนั้น ฝ่ายการเมืองต้องการ
                      ประสบผลสำเร็จในเชิงนโยบาย ส่วนฝ่ายข้าราชการต้องการความมั่นคงและความปลอดภัยในการ

                      ทำงาน โดยกลไกฝ่ายการเมืองต้องการใช้อำนาจที่ควบคุมเอาเป้าหมายเป็นตัวตั้ง ส่วนฝ่าย
                      ข้าราชการต้องการใช้อำนาจกฎหมายเป็นตัวตั้งต้องการบรรลุผลตามเกณฑ์ ดังนั้น การใช้อำนาจ

                      จึงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ

                            ด้านแนวโน้มที่ต้องปรับตัวเข้าหากัน โดยทั้งสองอำนาจนั้นจะต้องประสานผลประโยชน์

                      ร่วมกันให้ได้ ซึ่งฝ่ายการเมืองจะต้องเห็นความจำเป็นในการแบ่งการใช้อำนาจมิให้ทับซ้อนและ
                      ฝ่ายข้าราชการประจำต้องเข้าใจว่า ฝ่ายการเมืองไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ถ้าไม่มีอำนาจของ

                      ฝ่ายข้าราชการประจำ ดังนั้น ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่หันเข้าหากัน ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ถ้าต้องการให้บรรลุผล
                      จึงต้องแสวงหาด้วยตนเอง ทำให้เกิดปัญหา ที่จะนำไปสู่การขัดกัน ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงต้องหัน
                      เข้าหากัน แสวงหาทางที่จะสามารถตอบสนองซึ่งกันและกันให้ได้ โดยในด้านนโยบาย

                      ฝ่ายการเมืองต้องมีการผสมผสานและออกเป็นนโยบายที่เอื้อต่อประชาชนที่ฝ่ายข้าราชการประจำ
                      ไม่รู้สึกแปลกแยก ตรงนี้จึงทำให้ฝ่ายข้าราชการสนิทใจที่ไม่ได้เข้าไปทำงานเพื่อตอบสนองฝ่าย

                      การเมืองอย่างเดียวคล้ายกับพบกันครึ่งทาง

                            โดยการสร้างดุลอำนาจ ที่จะตอบประโยชน์การสัมมนาผมตั้งไว้สามส่วนหลัก คือ หนึ่ง

                      เรื่องดุลอำนาจ สอง เรื่องกลไก และ สาม การตอบสนองนโยบายในเรื่องของดุลอำนาจ ในเชิง
                      โครงสร้างต้องหาวิธีสร้างปฏิสัมพันธ์ โดยในทางการต้องสร้างปฏิสัมพันธ์ในโครงสร้างส่วนบน

                      ส่วนฝ่ายประจำนั้น ต้องเน้นปฏิสัมพันธ์ส่วนล่าง ส่วนในระดับตรงกลาง ต้องสร้างองค์กรที่จะเป็น
                      ตัวกลาง ทำหน้าที่เชื่อมโยงฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจำเข้าด้วยกันซึ่งถือเป็นความ
                      จำเป็น ไม่เช่นนั้นมันจะทำให้เกิดการสลับกันไปมา การกำหนนโยบาย ตรากฎหมาย ตัดสินใจ

                      ทางการเมืองเป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง การกำหนดหน้าที่ การนำไปปฏิบัติและการตัดสินใจทาง
                      กฎหมายนั้นเป็นเรื่องของข้าราชการประจำ มันจึงทำให้เรามองเห็นฐานอำนาจของแต่ละฝ่าย                    การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3

                      โดยในแง่ของหน้าที่ฝ่ายการเมืองก็เข้าไปรับผิดชอบในเชิงนโยบาย ส่วนฝ่ายข้าราชการประจำ
   323   324   325   326   327   328   329   330   331   332   333