Page 322 - kpi17073
P. 322

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   321


                      หน้าที่ในการขับเคลื่อนนโยบายหรือยุทธศาสตร์หลักของหน่วยงานออกจากตำแหน่งข้าราชการ
                      ระดับสูงปกติทั่วๆ ไป โดยบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีคุณสมบัติหรือ

                      สมรรถนะเฉพาะที่พิเศษกว่าข้าราชการระดับสูงทั่วไป และจำเป็นต้องสามารถปฏิบัติงานร่วมกับ
                      ข้าราชการการเมืองที่เข้ามารับผิดชอบในการกำหนดนโยบายของหน่วยงานนั้นๆ ได้อย่างมี
                      ประสิทธิภาพและราบรื่น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการและสาธารณะ โดยตำแหน่ง

                      ของข้าราชการประจำที่ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายหรือ
                      ยุทธศาสตร์หลักจะได้แก่ บุคลากรในระดับนักบริหารระดับสูงที่ดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวง

                      หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ผู้ว่าราชการจังหวัด และเอกอัครราชทูต

                            (2) กำหนดให้ข้าราชการประจำระดับสูงที่ดำรงตำแหน่งสำคัญที่ทำหน้าที่ในการ

                      ขับเคลื่อนนโยบายหรือยุทธศาสตร์ของหน่วยงานต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและมีเงื่อนไข
                      ต้องปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับข้าราชการการเมืองที่เข้ามาบริหารหน่วยงาน


                              เมื่อได้มีการจำแนกตำแหน่งข้าราชการประจำระดับสูงที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อน
                      นโยบายหรือยุทธศาสตร์หลักของหน่วยงานออกมาเป็นการเฉพาะแล้ว ก็ต้องมีการกำหนด

                      คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสำหรับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งในกลุ่มนี้ได้ว่าจะต้องเป็นผู้มีความรู้
                      ความสามารถสูงมาก ตลอดจนมีขีดสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสูงมากเป็นพิเศษกว่า

                      บุคลากรในตำแหน่งอื่นๆ ประการสำคัญ ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการประจำระดับสูงเหล่านี้
                      จะมีการกำหนดเงื่อนไขว่าข้าราชการในกลุ่มนี้ต้องมีความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับ
                      ข้าราชการการเมืองที่เข้ามารับผิดชอบในการบริหารหน่วยงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

                      และในการปฏิบัติหน้าที่ จะต้องมีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เข้มข้น ครอบคลุมมิติของ
                      ภาระงานที่รับผิดชอบและเป็นธรรม อย่างสม่ำเสมอ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่

                      ในตำแหน่งดังกล่าว

                              เนื่องจากข้าราชการประจำระดับสูงในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติที่สูงกว่าข้าราชการประจำระดับ

                      สูงอื่นๆ ตลอดจนจำเป็นที่จะต้องทำงานภายใต้สภาวะเงื่อนไขที่อาจมีแรงกดดันสูงกว่าข้าราชการ
                      ประจำระดับสูงในตำแหน่งอื่นๆ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาจัดระบบค่าตอบแทน

                      และสิทธิประโยชน์ต่างๆของข้าราชการประจำที่ดำรงตำแหน่งเหล่านี้เพิ่มเติมให้สูงกว่าข้าราชการ
                      ประจำที่ดำรงตำแหน่งอื่นๆอย่างมีนัยยะสำคัญ


                            (3) ให้ข้าราชการการเมืองที่รับผิดชอบดูแลส่วนราชการต่างๆ มีอำนาจพิจารณาโยกย้าย
                      สับเปลี่ยนข้าราชการประจำระดับสูงที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ของ

                      หน่วยงานได้ภายกรอบระยะเวลาที่กำหนด

                              เมื่อได้มีการจัดจำแนกตำแหน่งข้าราชการประจำระดับสูงออกเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อน

                      นโยบายหรือยุทธศาสตร์ของหน่วยงานแล้ว โดยผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเหล่านั้นได้ต้องมีคุณสมบัติ
                      เฉพาะที่สูงกว่ารวมถึงต้องสามารถทำงานร่วมกับฝ่ายการเมืองที่รับผิดชอบหน่วยงานนั้นๆได้

                      ดังนั้น จึงควรต้องกำหนดให้ข้าราชการการเมืองที่รับผิดชอบหน่วยงานเหล่านั้นมีอำนาจในการ               การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
                      พิจารณาโยกย้ายและสับเปลี่ยนข้าราชการประจำที่ดำรงตำแหน่งประเภทดังกล่าวภายในหน่วยงาน
                      ของตนเองได้
   317   318   319   320   321   322   323   324   325   326   327