Page 319 - kpi17073
P. 319

318     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       (1) ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำที่เสนอแนะให้มีการ
                  ปรับปรุงนี้ จะต้องเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่สอดคล้องต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

                  ทั้งนี้เพราะโดยปกติแล้ว มุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อระบบราชการหรือข้าราชการประจำนั้น
                  มักมองว่ากลไกราชการหรือความเป็นระบบราชการเป็นสิ่งที่มีลักษณะไม่สอดคล้องกับวิถีของ
                  การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยระบบราชการมักมีลักษณะโครงสร้างที่ใหญ่โตเทอะทะ

                  มีสายการบังคับบัญชา ยึดโยงด้วยระเบียบหลักเกณฑ์ต่างๆ ไร้ประสิทธิภาพ ขาดความยืดหยุ่น
                  และไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งในท้ายที่สุด ระบบราชการอาจกลายเป็นสิ่งที่ขัดขวางการปกครอง

                                        35
                  ในระบอบประชาธิปไตย  เพราะฉะนั้น ในการออกแบบดุลความสัมพันธ์ใหม่นี้เราจะต้องทำให้
                  ข้าราชการประจำเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว ตรวจสอบได้ รวมถึงตอบสนองต่อนโยบาย
                  ของฝ่ายการเมืองที่มีลักษณะมุ่งเน้นที่ผลประโยชน์ของสาธารณะ อันเป็นเงื่อนไขที่สำคัญของ

                  การปกครองในระบอบประชาธิปไตย


                       (2) ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำที่เสนอให้มีการปรับปรุง
                  ใหม่นี้ ต้องเป็นดุลความสัมพันธ์ที่ไม่ส่งผลทำให้ข้าราชการการเมืองใช้ข้าราชการประจำเป็น
                  เครื่องมือในการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อระเบียบกฎหมาย หรือเป็นการกระทำที่ทุจริต ทั้งนี้เพราะเมื่อ

                  เราพยายามจะปรับดุลความสัมพันธ์ให้กลไกข้าราชการประจำตอบสนองต่อข้าราชการการเมือง
                  ในการขับเคลื่อนนโยบายของฝ่ายการเมืองให้มากขึ้นนั้น ย่อมเท่ากับเป็นการเพิ่มบทบาทของฝ่าย

                  การเมืองที่มีต่อข้าราชการประจำ ซึ่งหากข้าราชการการเมืองคนใดมีเจตนาที่มิชอบ มุ่งที่จะใช้
                  อำนาจไปในทางที่ไม่สุจริต ข้าราชการการเมืองผู้นั้นก็อาจใช้ข้าราชการประจำเป็นเครื่องมือหรือ
                  กลไกในการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือกลายเป็นการกระทำที่ทุจริตได้ในที่สุด โดยเฉพาะ

                  อย่างยิ่งในบริบทเฉพาะของสังคมไทย ดังที่ วิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ได้เคยให้ความเห็น
                  เอาไว้ว่าหากประเทศไทยต้องการจะเพิ่มลำดับของประเทศที่มีความโปร่งใสให้อยู่ในลำดับที่สูงขึ้น

                  นั้น เราอาจจำเป็นต้องจำกัดอำนาจของนักการเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการประจำ เพื่อมิให้
                  นักการเมืองสามารถใช้ข้าราชการประจำเป็นเครื่องมือในการทุจริต 36


                       ดังนั้นแนวทางที่เสนอสำหรับการปรับปรุงดุลความสัมพันธ์ในครั้งนี้แม้จะเป็นการทำให้
                  ข้าราชการประจำตอบสนองต่อฝ่ายการเมืองได้มากขึ้นตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตยก็ตาม

                  แต่ก็จะต้องมีดุลยภาพที่เหมาะสม ทีสามารถป้องกันมิให้ข้าราชการการเมืองสามารถแทรกแซง
                  และกดดันให้ข้าราชการประจำกระทำผิดกฎหมาย หรือทุจริตต่อหน้าที่


                       (3) การปรับปรุงดุลความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำใหม่นี้
                  จะต้องมีส่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกลไกระบบราชการหรือตัวข้าราชการ


                     35   Olsen, Johan P., “The Ups and Downs of Bureaucratic Organizations”, Working paper No. 14,
                  September 2007, Arena, Centre for European Studies, University of Oslo, available at: https://
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   www.sv.uio.no/arena/english/research/publications/arena-publications/workingpapers/working-papers2007/

                  wp07_14.pdf (accessed on 18 October 2014).
                        ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน สำนักข่าวอิศรา, “ล้างบางวงจรทุจริต “วิชา” แนะอย่างปล่อยนักการเมืองใช้อำนาจ

                    36
                  ตั้ง ขรก.,” สำนักข่าวอิศรา, http://www.isranews.org/isranews-news/item/28119-corrup_28119.html (สืบค้น
                  เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2557).
   314   315   316   317   318   319   320   321   322   323   324