Page 317 - kpi17073
P. 317

316     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาได้ประกาศนโยบายในการปฏิรูประบบราชการและ
                  ปรับปรุงระบบการปฏิบัติงาน โดยมีความพยายามเข้าไปจัดการกับระบบอุปถัมภ์ภายในระบบ

                  ราชการที่เกิดขึ้นจากวัฒนธรรม Amakudari และมีความพยายามในการลดทอนความเข้มแข็งของ
                  ข้าราชการประจำผ่านการสนับสนุนให้ข้าราชการประจำสามารถเกษียณก่อนกำหนดเพื่อเปิดทาง
                  ให้กับข้าราชการประจำที่มีความเชื่อมโยงกับภาคเอกชนออกจากการเป็นข้าราชการประจำ
                                                                                                          32
                  รวมไปถึงเมื่อครั้งที่นาย Morihiro Hosokawa เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น เขาได้
                  ประกาศอย่างจริงจังว่าจะมีการปฏิรูประบบราชการใหม่เพื่อที่จะลดอำนาจข้าราชการประจำและ

                  จะรวมศูนย์อำนาจในการกำหนดนโยบายไว้ที่ฝ่ายบริหาร    33

                       หรือในกรณีล่าสุดที่นายกรัฐมนตรี Shinzo Abe ได้พยายามที่จะขยายขอบเขตการใช้

                  อำนาจของฝ่ายข้าราชการการเมืองในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำระดับสูง ที่ในอดีตนั้น
                  ข้าราชการการเมืองสามารถแต่งตั้งข้าราชการประจำระดับสูงได้เพียง 100-200 ตำแหน่ง แต่ใน

                  ปัจจุบันข้าราชการการเมืองมีอำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการประจำระดับสูงมากกว่า 600 ตำแหน่ง
                  ซึ่งในการแต่งตั้งข้าราชการประจำระดับสูงนั้นนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะเป็น
                  ผู้คัดสรรข้าราชการประจำที่มีความเหมาะสมและมีคุณสมบัติตามที่ตำแหน่งนั้นๆ ต้องการให้ดำรง

                  ตำแหน่งข้าราชการประจำระดับสูงของหน่วยงานนั้นๆ   34


                       จากกรณีศึกษาทั้ง 2 กรณีที่ได้หยิบยกมาศึกษานั้น กรณีของสหรัฐอเมริกาเป็นกรณีศึกษา
                  ที่สะท้อนให้เราได้เห็นถึงความเข้มแข็งและบทบาทนำของฝ่ายการเมือง ดังจะเห็นได้จาก
                  ข้าราชการระดับสูงที่มีความรับผิดชอบสำคัญจะเป็นข้าราชการการเมืองที่มาจากการแต่งตั้งโดย

                  ประธานาธิบดี และที่น่าสนใจ ก็คือ การที่ข้าราชการระดับสูงในกลุ่มนี้ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวน
                  ขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ในแง่หนึ่งย่อมเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความ

                  พยายามของฝ่ายการเมืองในการขยายบทบาทของตนเองในการบริหารราชการแผ่นดิน

                       ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น เป็นที่น่าสังเกตว่าในอดีตที่ผ่านมาที่ประเทศญี่ปุ่นเลือกที่จะเป็น

                  รัฐที่มุ่งการพัฒนา (Developmental State) ในขณะที่รัฐบาลของญี่ปุ่นแม้จะมาจากพรรค
                  การเมืองเดียวอย่างต่อเนื่องแต่กลับไม่มีเสถียรภาพมากนักนั้น ได้ส่งผลทำให้ข้าราชการประจำ

                  ของญี่ปุ่นเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความเข้มแข็ง โดยที่ฝ่ายการเมืองยากที่จะเข้าไปแทรกแซง
                  ซึ่งสถานการณ์แบบนี้ได้ทำให้ข้าราชการประจำสร้างวัฒนธรรมหลายอย่างที่ไม่เหมาะสมนักต่อ
                  การบริหาร อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระยะหลังได้สะท้อนให้เห็นถึงความ

                  พยายามของฝ่ายการเมืองในการแทรกแซง และเพิ่มบทบาทของตนเองในการบริหารงานบุคคล
                  ของฝ่ายข้าราชการประจำมากขึ้นด้วยเช่นกัน


                    32
                        The Japan Times News, “Koizumi slams ‘amakudari’ gravy train,” The Japan Times News, http://
                    www.japantimes.co.jp/news/2002/07/24/national/koizumi-slams-amakudari-gravy-train/#.VE1E (accessed
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   on 27 October 2014).



                    33
                       ไชยวัฒน์ ค้ำชู, “มองการเมืองญี่ปุ่นผ่านเลือกตั้ง 2009,” The Thailand Research Fund (TRF), http://
                  prp.trf.or.th/ContentView.aspx?id=9&page=3 (สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2557).
                        The Japan Times News, “Abe Moves to Boost Control of Bureaucrats,”The Japan Times News,
                    34

                  http:/www.japantimes.co.jp/news/2014/05/27national/politics (accessed on 29 September 2014).
   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321   322