Page 321 - kpi17073
P. 321

320     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  พร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และข้อที่สี่ ภาคประชาชนหรือสาธารณะจะ
                  ต้องเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบและกำกับการทำงานของข้าราชการทั้งสองส่วนมากขึ้น


                   ้ เสน เพ   การปรับปร    ล  า สั พัน  ระ   า  ้ารา การการเ     ละ
                   ้ารา การประ   า   ้บร บ การเ     บบประ า  ป


                       จากหลักการสำคัญที่ได้นำเสนอนี้ ในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมือง
                  และข้าราชการประจำให้เป็นดุลความสัมพันธ์ที่เหมาะสมสามารถสรุปให้เห็นเป็นแนวทางได้ดังต่อ
                  ไปนี้คือ


                       (1) จัดให้มีระบบการจำแนกตำแหน่งข้าราชการประจำระดับสูงที่มีบทบาทในการ

                  ขับเคลื่อนนโยบายหรือยุทธศาสตร์หลักของหน่วยงานออกจากข้าราชการประจำระดับสูงทั่วไป

                         การศึกษาถึงพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการ

                  ประจำของไทยได้แสดงให้เห็นแล้วว่าในช่วงหลังๆ มานี้ ข้าราชการการเมืองได้ทวีบทบาทที่สำคัญ
                  ในทางการเมืองมากขึ้น รวมไปถึงบทบาทที่มีต่อข้าราชการประจำดังที่เรามักจะปรากฏเห็น

                  รายงานต่างๆ อยู่เสมอว่าข้าราชการการเมืองใช้อำนาจหรืออิทธิพลในการกดดันและแทรกแซง
                  การทำงานของข้าราชการประจำ แม้ว่าโดยพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
                  รวมถึงกฎระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะกำหนดให้ข้าราชการการเมือง (รัฐมนตรีว่าการ) มีอำนาจ

                  ในการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการประจำตำแหน่งปลัดกระทรวงได้เพียงตำแหน่งเดียว
                  ก็ตาม แต่ทว่าในข้อเท็จจริงนั้น ข้าราชการการเมืองกลับสามารถแทรกแซงการแต่งตั้ง โยกย้าย

                  รวมถึงการให้คุณให้โทษแก่ข้าราชการประจำระดับต่างๆได้อย่างกว้างขวาง โดยที่ในบางหน่วยงาน
                  ข้าราชการการเมืองอาจลงไปมีส่วนในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในระดับอำนวยการ
                  หรือต่ำกว่านั้นด้วย ซึ่งสภาพเช่นนี้ ทำให้เราต้องยอมรับว่าภายใต้บริบททางการเมืองแบบ

                  ประชาธิปไตยนั้น ข้าราชการการเมืองย่อมมีบทบาทที่กว้างขวางในกระบวนการบริหารงานบุคคล
                  ของข้าราชการประจำอยู่แล้ว


                       ทั้งนี้หากมองถึงเงื่อนไขความจำเป็นที่ข้าราชการการเมืองต้องมีอำนาจในการสั่งการและ

                  ร้องขอให้ข้าราชการประจำระดับสูงปฏิบัติหน้าที่ในการสนองนโยบายของฝ่ายการเมืองแล้ว ก็ต้อง
                  ยอมรับด้วยว่าอำนาจดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเป็นและปฏิเสธไม่ได้ ประสบการณ์จากกรณีศึกษาของ
                  ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ช่วยสะท้อนให้เราเห็นว่าในกรณีของสหรัฐอเมริกานั้น ประธานาธิบดีแห่ง

                  สหรัฐอเมริกาในฐานะหัวหน้าของรัฐบาล มีอำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการการเมืองระดับสูง
                  แห่งสหพันธรัฐโดยผ่านการรับรองของวุฒิสภาสหรัฐเป็นจำนวนมากถึงกว่า 1,500 ตำแหน่ง ทั้งนี้

                  ก็เพื่อให้การทำงานของรัฐบาลเป็นไปโดยเรียบร้อยและเกิดผลในทางปฏิบัติ และเพื่อให้รัฐบาล
                  สามารถวางบุคลากรที่มีแนวคิดในการทำงาน รวมถึงศักยภาพในด้านต่างๆ ที่เหมาะสมมาช่วย
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   ประจำเพื่อให้มีความเหมาะสมมากขึ้น และมิใช่เป็นสิ่งที่สวนทางกับข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่นั้น
                  ในการทำงานและขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้เกิดผลได้จริงในทางปฏิบัติ

                         เพราะฉะนั้น การปรับปรุงดุลความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการ



                  ผู้ศึกษาเสนอให้มีการกำหนดหรือจำแนกตำแหน่งข้าราชการประจำระดับสูงจำนวนหนึ่งที่มีบทบาท
   316   317   318   319   320   321   322   323   324   325   326