Page 315 - kpi17073
P. 315
314 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
รูปแบบสุดท้าย “ระบบการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี (The Presidential Appointees)”
ถือเป็นระบบการบริหารบุคคลในระบบราชการที่มุ่งให้อำนาจกับประธานาธิบดีในการแต่งตั้ง
ข้าราชการการเมืองในระดับสูงซึ่งเป็นบุคคลากรของตนเข้าไปทำหน้าที่ในการบริหารหน่วยงาน
ของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและสามารถนำบุคคลากรที่มีความรู้
ความสามารถและทัศนะที่ก้าวไกลเข้ามาขับเคลื่อนนโยบายที่ประธานาธิบดีได้รณรงค์ไว้อย่างมี
28
ประสิทธิภาพ ซึ่งข้าราชการการเมืองกลุ่มดังกล่าวนั้นหากเป็นการเปรียบเทียบโดยตำแหน่งต่อ
ตำแหน่ง อาจเปรียบเทียบได้กับข้าราชการประจำประเภทบริหาร (ทั้งระดับต้นและระดับสูง) ของ
ประเทศไทย โดยระบบการแต่งตั้งข้าราชการการเมืองเข้าไปทำหน้าที่ในการบริหารหน่วยงานของ
รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกานั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักคือ
หนึ่ง ระบบการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา
(No Senate Required) ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการการเมืองในระบบนี้นั้นประธานาธิบดีมีอำนาจ
แต่เพียงฝ่ายเดียวในการแต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ดำรงตำแหน่ง
สอง ระบบการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา (Senate
Required) ตำแหน่งข้าราชการการเมืองในระบบนี้ถือเป็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อน
การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศสหรัฐเมริกาโดยในระบบนี้ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้ง
ข้าราชการการเมืองให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ โดยจะต้องนำรายชื่อบุคคลที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
เข้าสู่กระบวนการรับรองโดยวุฒิสภาด้วย ซึ่งตำแหน่งที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการแต่งตั้งในระบบนี้
นั้นได้แก่ ตำแหน่งปลัดกระทรวงอธิบดีเอกอัครราชทูตรวมทั้งผู้บริหารขององค์การมหาชนและ
รัฐวิสาหกิจโดยข้าราชการการเมืองในกลุ่มนี้ มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นมาโดยตลอด ดังที่
ปรากฏข้อมูลหลักฐานว่าใน ค.ศ. 1933 ข้าราชการการเมืองที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและ
ผ่านการรับรองโดยวุฒิสภาสหรัฐมีจำนวนเพียง 71 อัตรา แล้วได้เพิ่มเป็น 152 อัตราในช่วงก่อน
29
ค.ศ. 1965 และใน ค.ศ. 1984 ได้เพิ่มจำนวนเป็น 523 ตำแหน่ง จนกระทั่งในปัจจุบันตำแหน่ง
ที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการแต่งตั้งในระบบนี้นั้นมีจำนวน 1,548 ตำแหน่ง 30
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำของ
ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเป็นระบบความสัมพันธ์ที่มีความพยายามในการจำแนกข้าราชการประจำ
ออกจากข้าราชการการเมือง อย่างไรก็ตาม ภายใต้ระบบความสัมพันธ์นี้ ข้าราชการในระดับสูง
ที่มีตำแหน่งความรับผิดชอบที่สำคัญจะมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ในขณะที่ข้าราชการ
ประจำที่เติบโตมาตามสายอาชีพ ก็จะทำหน้าที่สำคัญในระดับรองๆลงไป ดังนั้น เราจึงอาจถือได้
28 James P. Pfiffner, “Presidential Appointments and Managing the Executive Branch,”Political
Appointee Project, http://www.politicalappointeeproject.org/commentary/appointments-and-managing-
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 29 Pfiffner, James P., “Political Appointees and Career Executives: The Democracy-Bureaucracy
executive-branch (accessed on 26 October 2014)
Nexus in the Third Century”, in Public Administration Review. Vol.47, No. 1 (Jan-Feb 1987), p. 58.
30
The White House, “Nominations & Appointments,” The White House, http://www.whitehouse
.gov/briefing-room/nominations-and-appointments (accessed on 26 October 2014)