Page 310 - kpi17073
P. 310

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   309


                      ที่น่าสนใจต่อการการเมืองไทยในช่วงดังกล่าว โดย เอนก ได้กล่าวว่า ภายหลังจากการที่พลเอก
                      เปรม ติณสูลานนท์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ พ.ศ. 2523-2531 นั้นถือเป็น

                      ช่วงระยะเวลาที่กลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มเริ่มสามารถเข้ามามีบทบาทในการกดดันต่อ
                      กระบวนการนโยบายหรือการออกกฎหมายของรัฐในบางด้านเพิ่มมากขึ้นนอกเหนือไปจากกลุ่ม
                      ข้าราชการประจำ เช่น ในการกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้การเมืองไทยไม่ได้มี

                      ลักษณะเป็นอำมาตยาธิปไตยเช่นในอดีต แต่กลับมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวแบบที่เรียกว่า “ภาคี
                      รัฐ-สังคม แบบเสรี (Liberal Corporatism)” เสียมากกว่าอย่างไรก็ดี ภายใต้ปรากฏการณ์ใหม่นี้

                      ยังคงต้องยอมรับว่าโดยภาพรวม ข้าราชการประจำยังคงมีบทบาทสำคัญและสามารถบิดเบนหรือ
                      ต่อต้านข้อเรียกร้องจากกลุ่มผลประโยชน์และภาคสังคมได้อยู่พอสมควร รวมทั้งยังมีส่วนสำคัญใน
                      กำหนดความสัมพันธ์ทางกฎหมายและสถาบันระหว่างรัฐกับกลุ่มต่างๆ ได้อีกด้วย     17


                            ภายหลังจากการที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ.

                      2531 ดุลอำนาจของความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชประจำเริ่มมีการ
                      เปลี่ยนแปลงไปอีกครั้งในทิศทางที่นักการเมือง กลุ่มนักธุรกิจ ตลอดจนกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
                      ในสังคมเริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองและดำรงตำแหน่งสำคัญในรัฐบาล รวมทั้งยังเข้ามามี

                      บทบาทแทรกแซงในการแต่งตั้งข้าราชการประจำเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของข้าราชการ
                      การเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ที่ให้การสนับสนุนพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาล อย่างไรก็ตามในช่วง

                      ระยะเวลาดังกล่าวข้าราชการประจำยังคงมีบทบาทสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินอันเนื่องมา
                      จากการที่รัฐบาลขาดเสถียรภาพทางการเมือง จึงทำให้ข้าราชการประจำยังเป็นกลไกที่สำคัญ
                      ในการขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลแต่ก็ต้องยอมรับว่าในช่วงรัฐบาล

                      พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น พลังของฝ่ายการเมืองได้เพิ่มความเข้มแข็ง
                      มากขึ้นกว่าในอดีต ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะตัว พลเอก ชาติชาย เองก็เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจาก

                      การเลือกตั้ง

                            จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นของความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการ

                      ประจำที่เริ่มทำให้เห็นความไม่ลงรอยกันระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายในขณะนั้น  ส่งผลให้ภาคส่วนต่างๆ
                                                                                        18
                      ทั้งภาคประชาสังคม ภาคเอกชน นักวิชาการและนักการเมืองบางส่วนมีความพยายามที่จะ

                      สนับสนุนให้เกิดการปฏิรูประบบราชการไทย โดยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบ
                      บริหารราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ที่มุ่งให้กระบวนการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการประจำ
                      ที่เกิดขึ้นมีความ “กระจ่าง” และเป็นไปอย่าง “โปร่งใส”  ขณะเดียวกันการเรียกร้องที่เกิดขึ้น
                                                                           19
                      ยังมุ่งสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปการเมืองที่เป็นไปตามวิถีทางแห่งการปกครองในระบอบ
                      ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งความพยายามดังกล่าวปรากฏให้เห็นเด่นชัดภายหลังเหตุการณ์


                         17   เอนก เหล่าธรรมทัศน์, มองเศรษฐกิจการเมืองไทยผ่านการเคลื่อนไหวของสมาคมธุรกิจ, เรียบเรียงเป็นไทย
                      โดย สายทิพย์ สุคติพันธ์ (กรุงเทพ: คบไฟ, 2539), หน้า 202-204
                         18   ต้องยอมรับว่าการรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 มูลเหตุหนึ่งที่สำคัญ ก็คือ ความไม่ลงรอยกัน
                      ระหว่างฝ่ายการเมืองและกองทัพ ซึ่งถือเป็นข้าราชการประจำ จนนำไปสู่การทำรัฐประหารในที่สุด

                         19   กองนิติการ สำนักงาน ก.พ., ประมวลกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2471-2551         การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
                      (กรุงเทพ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด, 2551), หน้า 558
   305   306   307   308   309   310   311   312   313   314   315