Page 307 - kpi17073
P. 307
306 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
นับตั้งแต่ ค.ศ. 1887 ที่ Woodrow Wilson ได้เขียนบทความชื่อ “The Study of Administration”
7
ได้มีการเสนอให้ศึกษาการบริหารแยกออกจากการเมืองเนื่องจากการเมืองเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อ
ประสิทธิภาพทางการบริหารอย่างไรก็ตามแนวความคิดดังกล่าวได้ถูกโจมตีอย่างหนักภายหลังจาก
สงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ.1946) โดยปรากฏให้เห็นได้ในหนังสือรวมบทความชื่อ Element of
Public Administration ที่มี Fritz Morstein-Marx เป็นบรรณาธิการ ได้ชี้ให้เห็นว่าในโลกความ
เป็นจริงแล้วการบริหารและการเมืองนั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้นพลวัตของแนวคิดว่า
ด้วยการเมืองและการบริหารนั้นจึงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วงสำคัญ ดังนี้
ในช่วงแรก ได้แก่ วิวัฒนาการของแนวคิดว่าด้วยการเมืองและการบริหารในช่วงก่อน
สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเริ่มต้นจากการที่ Woodrow Wilson ได้เขียนบทความชื่อ “The Study
of Administration” ใน ค.ศ. 1887 ซึ่งแนวคิดการเมืองและการบริหารในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
มีจุดเน้นสำคัญที่การให้มีการศึกษาการบริหารแยกออกจากการเมืองเนื่องจากการเมืองเป็นสิ่ง
ชั่วร้ายและก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง อันเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อประสิทธิภาพทาง
8
การบริหาร ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้นั้นมุ่งให้ความสำคัญกับการศึกษาการบริหารแบบเป็น
วิทยาศาสตร์ได้ (science of public administration) เพื่อแสวงหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดวิธีเดียว
(one best method) ซึ่งตัวแบบที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อนักวิชาการกลุ่มนี้นั้นคือการจัดองค์การ
แบบระบบราชการ (bureaucracy) ของ Max Weber ที่มองว่าระบบราชการนั้นมีความมั่นคง
ถูกทำลายยากเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถที่จะทำงานได้เต็มที่ต่อเมื่อคนใช้รู้จักใช้เครื่องจักร
นั้นเป็นอย่างดี ดังนั้นไม่ว่าตัวการเมืองจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรระบบราชการยังคงเป็น
9
กลไกที่สามารถตอบสนองผู้นำทางการเมืองชุดใหม่ได้อยู่เสมอ ดังนั้นวิวัฒนาการของแนวคิด
การเมืองและการบริหารของกลุ่มนักวิชาการในช่วงแรกนั้นจึงให้ความสำคัญกับสิ่งที่ว่า “การ
บริหารแยกออกจากการเมือง” และ
ในยุคที่สอง ได้แก่ วิวัฒนาการของแนวคิดว่าด้วยการเมืองและการบริหารภายหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นความพยายามที่สำคัญในการท้าทายนักวิชาการในกลุ่มแรก โดย
ความท้าทายดังกล่าวปรากฏให้เห็นครั้งแรกในหนังสือรวมบทความชื่อ Element of Public
Administration ที่เขียนขึ้นใน ค.ศ. 1946 โดยมี Fritz Morstein-Marx เป็นบรรณาธิการ ที่ได้ชี้
ให้เห็นว่าในโลกความเป็นจริงแล้วนักบริหารงานของรัฐมีบทบาทเป็นนักการเมือง อันทำให้
10
ภาพพจน์ที่ว่าการบริหารแยกจากการเมืองนั้นไม่ตรงกับความเป็นจริง ขณะเดียวกัน Paul H.
7 Woodrow Wilson, “The Study of Administration,”Political Science Quarterly Vol. 2, No. 2 (June
1887) : pp. 197-222.
8 อัมพร ธำรงลักษณ์, การบริหารปกครองสาธารณะ (Public Governance): การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่
21, พิมพ์ครั้งที่ 2 (ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556), หน้า 1
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 (กรุงเทพ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556), หน้า 13-29
9
พิทยา บวรวัฒนา, รัฐประศาสนศาสตร์: ทฤษฎีและแนวการศึกษา (ค.ศ.1887-ค.ศ.1970), พิมพ์ครั้งที่ 18
10
Fritz Morstein-Marx, ed., Element of Public Administration(Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall
Inc, 1946) อ้างถึงใน พิทยา บวรวัฒนา, รัฐประศาสนศาสตร์: ทฤษฎีและแนวการศึกษา (ค.ศ.1887-
ค.ศ.1970)(กรุงเทพ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538), หน้า 58