Page 305 - kpi17073
P. 305

304     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                               ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการฝ่ายการเมือง

                                                 และข้าราชการประจำ



                  บทนำ




                       “ระบบราชการ (Bureaucracy)” ถือเป็นกลไกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหาร
                  ราชการแผ่นดินและขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหาร (Executive) ของประเทศ
                  มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศและตอบสนองความต้องการของประชาชนโดย

                  “ข้าราชการการเมือง”  นั้นถือเป็นองค์ประกอบส่วนสำคัญของกลไกดังกล่าวโดยมีหน้าที่ในการ
                                       1
                  กำหนดนโยบายและเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ซึ่งจากบทบาหน้าที่ดังกล่าวส่งผลให้

                  ข้าราชการการเมืองมีความเกี่ยวข้องโดยตรงในการตัดสินใจเชิงคุณค่า (Value judgement) โดย
                  อ้างความชอบธรรมที่เกิดจากการได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนมากำหนดคุณค่าดังกล่าว
                  เพื่อสะท้อนเจตนารมณ์และความต้องการของประชาชน      2


                       นอกจากบทบาทดังกล่าวแล้วข้าราชการการเมืองยังมีบทบาทหลักในการบังคับบัญชาและ
                                                                 3
                  กำกับดูแลการปฏิบัติงานของ “ข้าราชการประจำ” ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีบทบาทหลักในการ
                  บริหารหรือการรับเอานโยบายของข้าราชการการเมืองไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จตามคุณค่าที่
                  ข้าราชการการเมืองได้กำหนดไว้ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะและข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจของ

                  ข้าราชการการเมืองสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้ข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำมีความ
                  สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดหรืออาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนั้นเปรียบเสมือนคนละด้านของ
                                    4
                  เหรียญอันเดียวกัน  และเป็นการยากที่จะแบ่งบทบาทหน้าที่ระหว่างข้าราชการการเมืองกับ
                  ข้าราชการประจำให้ชัดเจนและพยายามจัดความสัมพันธ์ให้มีความเหมาะสม


                       โดยในปัจจุบันปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำนั้น
                  นับเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศ

                  ไทยเนื่องจากข้าราชการการเมืองได้ก้าวเข้าไปมีบทบาทโดยตรงต่อการแต่งตั้งและโยกย้าย
                  ข้าราชการประจำเพื่อตอบสนองความต้องการของข้าราชการการเมืองอันทำให้การแต่งตั้งและ
                  โยกย้ายที่เกิดขึ้นมิได้ดำเนินการไปตามระบบคุณธรรม (Merit system) แต่อาจมีลักษณะเป็นไป



                     1   ข้าราชการการเมือง (Political official) หมายถึง นักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในฝ่ายบริหาร
                  (Executive) ของประเทศ อาทิ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการ เป็นต้น

                     2   ชัยอนันต์ สมุทวณิช, ปัญหาการพัฒนาทางการเมืองไทย (กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
                  2536), หน้า 227-228
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   ทำงานในระบบราชการตามระบบคุณธรรม (Merit system) ซึ่งข้าราชการประจำนั้นแบ่งเป็นข้าราชการพลเรือนและ

                     3
                        ข้าราชการประจำ (Government official) หมายถึง บุคคลที่ได้รับการคัดเลือก บรรจุและแต่งตั้งให้เข้ามา
                  ข้าราชการทหาร


                     4
                        สร้อยตระกูล อรรถมานะ, ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ (กรุงเทพ:
                  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544), หน้า 1
   300   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310