Page 300 - kpi17073
P. 300
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 299
อีกฝ่ายหนึ่งเข้ามาในระบบของตนจนกลายเป็นความสัมพันธ์ที่แยกกันไม่ออก ตัวอย่างข้าราชการ
ประจำที่รู้สึกว่าควรเอาแบบอย่างจากข้าราชการการเมือง เช่น การทำงานที่เข้าไปมีส่วนในการ
กำหนดนโยบาย ซึ่งข้าราชการประจำไม่ควรทำในสิ่งเหล่านี้รวมถึงการเป็นหน้าห้อง และติดตาม
นักการเมือง เมื่อมีความใกล้ชิดกันมาก ทำให้ซึมซับความเป็นข้าราชการการเมือง ปัญหาความ
สัมพันธ์ระหว่างข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง อาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ 6
ประการที่ 1 เรื่องนโยบาย นโยบายคือแนวทางการทำงาน นโยบายใหญ่คือ นโยบายของ
รัฐบาลที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย นโยบายที่รองลงมาคือ
นโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนโยบายที่มีความสำคัญถัดมาคือ
นโยบายของรัฐมนตรีที่แถลงต่อข้าราชการในกระทรวง นโยบายทั้งสามประการนี้เป็นสิ่งที่มีความ
สำคัญที่สุดที่ข้าราชการประจำทั้งปวงในกระทรวงตั้งแต่ปลัดกระทรวงลงมาต้องปฏิบัติตาม
ซึ่งนโยบายนี้บางครั้งก็เป็นนโยบายเดิมของกระทรวงรวมอยู่ด้วย จึงมักจะไม่มีปัญหามากนัก
จะมีปัญหาในกรณีที่รัฐมนตรีจากพรรคใหญ่ที่สุดในรัฐบาล จึงพยายามที่จะครอบงำ หรือรัฐมนตรี
จากพรรคที่เล็กในรัฐบาล บางครั้งรู้สึกเป็นปมด้อย จึงพยายามนำความคิดของรัฐมนตรีขึ้นมา
ตั้งเป็นนโยบายให้ข้าราชการประจำทำตาม
ประการที่ 2 วิธีทำงาน วิธีทำงานไม่ใช่นโยบาย แต่เป็นเรื่องที่ว่าจะทำงานกันอย่างไร
เป็นเรื่องที่ข้าราชการประจำต้องเดือดร้อน เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล หรือเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อยๆ
เพราะจะต้องเปลี่ยนวิธีทำงานบ่อยๆ บางครั้งก็ปรับตัวตามไม่ทัน ตัวอย่างเรื่องการแต่งกาย
ในสมัยรัฐมนตรีท่านหนึ่งกำหนดให้ข้าราชการแต่งชุดข้าราชการสีกากีมาทำงานในวันศุกร์
เมื่อปรับคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีใหม่ให้เปลี่ยนเป็นแต่งชุดพระราชทานในวันศุกร์ ต่อมาเปลี่ยน
รัฐมนตรีอีกท่านหนึ่งให้แต่งชุดข้าราชการทุกวัน และติดป้ายชื่อ และอีกไม่นานมีการปรับ
คณะรัฐมนตรีอีก รัฐมนตรีใหม่กำหนดให้แต่งชุดซาฟารีเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเดินทางไป
ตรวจราชการ ตัวอย่างเรื่องเวลาทำงาน รัฐมนตรีบางท่านมาทำงานตั้งแต่เช้า บางท่านต้องมา
เคารพธงชาติ ซึ่งข้าราชการต้องปรับตัวตาม ตัวอย่างวิธีร่างหนังสือ รูปแบบ สำนวน สรรพนาม
และการใช้ตัวย่อ ซึ่งวิธีทำงานนี้เป็นเรื่องเล็กน้อยที่ข้าราชการสามารถปรับตัวตามได้
ประการที่ 3 เรื่องการบริหารงานบุคคล การกระทบกระทั่งระหว่างข้าราชการประจำและ
ข้าราชการการเมือง มาจากเรื่องการบริหารงานบุคคลมากที่สุด เช่น เรื่องอัตรากำลังข้าราชการ
การเมือง และอำนาจการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ ในอดีตอัตรากำลังข้าราชการการเมืองมีได้
จำนวนมาก แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา มีการจำกัดอัตรากำลัง เช่น ตำแหน่งที่ปรึกษา
นายกรัฐมนตรี แต่เดิมมีจำนวน 20 – 30 คน ปัจจุบันจำกัดเพียง 5 อัตรา ตำแหน่งโฆษก
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดิมมีจำนวน 10 คน ปัจจุบันจำกัดได้ไม่เกิน 3 คน เมื่อเกิดโอกาส
เช่นนี้ ฝ่ายการเมืองจึงต้องยืมคนจากฝ่ายประจำเพื่อไปช่วยงานฝ่ายการเมือง ซึ่งทำให้เกิดปัญหา
กับข้าราชการนั้นๆ วิธีการแก้ไขและป้องกันมิให้ฝ่ายการเมืองมาสร้างปัญหา คือควรจะจัดอัตรา
6 วิษณุ เครืองาม, ศ.ดร., ปาฐกถาพิเศษเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการประจำกับข้าราชการการเมือง การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2550, จุลสารกลุ่มพัฒนาระบบริหาร (กพบ.) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปีที่ 2 ฉบับที่
8 (มีนาคม – เมษายน 2551).