Page 297 - kpi17073
P. 297

296     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       ฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย คือ การที่ฝ่ายการเมือง
                  เข้ามาทำหน้าที่ในฝ่ายบริหาร และใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในการบริหารประเทศ โดยมี

                  ข้าราชการประจำเป็นฝ่ายที่นำนโยบายของฝ่ายการเมืองไปปฏิบัติ ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่าย
                  การเมืองที่เป็นฝ่ายบริหารและข้าราชการประจำต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ การนำนโยบาย
                  ไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน เมื่อฝ่ายการเมืองและ

                  ข้าราชการประจำต่างมีเป้าหมายเดียวกันในการทำงานแล้ว จึงต้องร่วมมือกันเพื่อให้การทำงาน
                  มีประสิทธิภาพและบังเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม


                       ดังนั้น เมื่อฝ่ายการเมืองที่มีความสัมพันธ์กับข้าราชการประจำเป็นฝ่ายการเมืองที่เข้ามา
                  ทำหน้าที่ของฝ่ายบริหารในการใช้อำนาจบริหารประเทศ ซึ่งจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

                  จึงต้องทำงานให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์ในช่วงระยะเวลาของการดำรงตำแหน่ง เพื่อผลในวันข้างหน้าที่
                  จะมีโอกาสได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้ได้รับการเลือกตั้งให้เข้ามาบริหารประเทศต่อไป

                  สำหรับในส่วนของข้าราชการประจำนั้นต้องอยู่ในตำแหน่งจนถึงอายุ 60 ปี ต่างก็มีเส้นทางความ
                  ก้าวหน้าในอาชีพของตนเองตามความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล


                       หากทุกฝ่ายทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำต่างปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบอำนาจหน้าที่
                  ของตนเองตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็จะนำมาซึ่งความเจริญต่อประเทศชาติ และเกิดประโยชน์

                  สุขต่อประชาชน แต่เมื่อสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทำให้สถานการณ์ในหลายๆ ด้าน
                  เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มมีการซื้อสิทธิ ขายเสียง เพื่อให้ได้มาซึ่ง
                  อำนาจในทางการเมือง ได้เข้ามาเป็นนักการเมือง และใช้อำนาจทางการเมืองในการบริหาร

                  ประเทศ ซึ่งเมื่อฝ่ายการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศต่างใช้เงินในการซื้อเสียง จึงทำให้รูปแบบและ
                  เป้าหมายในการบริหารประเทศเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มุ่งประโยชน์ เพื่อประเทศชาติและ

                  ประชาชนเป็นสำคัญ กลับกลายเป็นมุ่งเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเป็นสำคัญ และเพื่อ
                  ให้การสนองตอบนโยบายที่จะเกิดประโยชน์กับตนเองและพวกพ้องสัมฤทธิ์ผล ฝ่ายการเมือง
                  จึงต้องร่วมมือกับข้าราชการประจำ เพราะฝ่ายการเมืองมีเพียงอำนาจในการกำหนดนโยบาย

                  แต่ข้าราชการประจำมีอำนาจนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อทั้งสองฝ่ายร่วมมือกัน
                  เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน จึงทำให้เกิดการทุจริตเชิงนโยบาย  โดยฝ่ายการเมืองก็จะได้ประโยชน์
                                                                          4
                  จากการทุจริตคอร์รัปชั่นเพื่อตนเองและพวกพ้อง ส่วนข้าราชการประจำที่ร่วมมือกับฝ่ายการเมือง
                  ก็จะได้รับการปูนบำเหน็จในตำแหน่งทางราชการที่สูงขึ้น ทำให้ระบบความเจริญก้าวหน้า
                  ตามความรู้ความสามารถของข้าราชการเปลี่ยนแปลงไป กลับกลายเป็นว่าข้าราชการที่รับใช้

                  ฝ่ายการเมืองจะได้รับการตอบแทนเป็นตำแหน่งในหน้าที่ราชการ ทำให้ข้าราชการบางคนลืม
                  อุดมการณ์ของการเป็นข้าราชการ และเมื่อฝ่ายการเมืองเห็นประโยชน์จากการร่วมมือกับ




        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3     การขัดแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์ส่วนรวมอันเกิดจากการใช้อำนาจทางการบริหารของรัฐบาล หรือ
                        การทุจริตเชิงนโยบาย (Policy Corruption) หมายถึง การแสวงหาผลประโยชน์ หรือการเอื้อประโยชน์ หรือ
                     4
                  ของรัฐมนตรีในการกำหนดนโยบาย เสนอโครงการ หรือดำเนินโครงการหรือกิจการต่าง ๆ อันเป็นผลให้ตนเองหรือ
                  ผู้อื่นได้ประโยชน์จากการดำเนินการตามโครงการหรือกิจการนั้นๆ หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (อ้างอิงจาก
                  เอกสารหลักและมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2556 โดย คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป), หน้า 12.
   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302