Page 294 - kpi17073
P. 294
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 293
ระบบ ั น พ
ยุคนี้เป็นยุคแรกที่นำระบบคุณธรรมมาใช้ในการบริหารงานบุคคลในรัชกาลไทย รัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 การเข้ารับราชการถือเป็นสิทธิของประชาชน
ทุกคนตามหลักความเสมอภาค จึงมีการเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ความสามารถเข้ารับราชการ
โดยการเลือกสรรอย่างเป็นกลางและยุติธรรม ข้าราชการทุกคนได้รับเงินเดือนตามบัญชีเงินเดือน
กลาง การจัดระเบียบบริหารงานบุคคลของราชการได้ทำอย่างเป็นระบบ โดยมีกฎหมายเกี่ยวกับ
ระบบบริหารงานบุคคลในภาคราชการฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. 2471 ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2471 มีหลักการของระบบคุณธรรม
ซึ่งปรากฏตามพระราชปรารภในการตราพระราชบัญญัตินี้ ความว่า “โดยที่มีพระราชประสงค์จะ
วางระเบียบข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปในทางเลือกสรรผู้มีความรู้และความสามารถเข้ารับ
ราชการเป็นอาชีพ ไม่มีกังวลด้วยการแสวงผลประโยชน์ในทางอื่น ส่วนฝ่ายข้าราชการก็ให้ได้
รับประโยชน์ยิ่งขึ้นเนื่องจากความสะพรั่งพร้อมด้วยข้าราชการซึ่งมีความสามารถและรอบรู้ใน
วิถีและอุบายของราชการกับหน้าที่และวินัยอันตนพึงรักษาเป็นนิตยกาล” ในยุคนี้ประเทศไทย
ประกอบด้วยข้าราชการ 3 ประเภท คือ ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ และข้าราชการ
พลเรือน
ระบบ น พ 6
ในยุคภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็น
ประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 ได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดระบบราชการ และการบริหารงาน
บุคคลในราชการให้สอดคล้องและทันสมัยเช่นเดียวกับประเทศตะวันตก จึงได้มีการประกาศใช้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2476 ซึ่งกำหนดให้ยกเลิกยศ และบรรดาศักดิ์
โดยเปลี่ยนโครงสร้างของระบบบริหารงานบุคคลมาใช้ตำแหน่งเป็นแกนหลักแทนชั้นยศ มีการ
กำหนดเงินเดือนให้เป็นไปตามหน้าที่ของตำแหน่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการบริหารงานบุคคลใน
ราชการพลเรือนช่วงนี้เป็นจุดเริ่มแรกของการบริหารงานบุคคลตามระบบตำแหน่ง การปรับเปลี่ยน
ระบบบริหารงานบุคคลครั้งนี้ดำเนินการอย่างเร่งรีบ และค่อนข้างเฉพาะเจาะจงบังคับทำให้ยากแก่
การสับเปลี่ยนโยกย้าย ไม่คล่องตัวในการบริหารงานบุคคล จึงนำไปสู่การแก้ไขพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการพลเรือนอีกในปี พ.ศ. 2479 โดยกลับไปใช้ระบบชั้นยศเป็นแกนกลางเหมือน
เดิมแต่ลดจำนวนชั้นให้เหลือเพียง 5 ชั้น
ระบบ ั น ละ น พ 1
ยุคนี้เป็นช่วงของการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน 5 ฉบับ คือ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2479, 2482, 2485, 2495 และ 2497
แต่ละฉบับมีการกำหนดชั้นประจำตัวราชการและเทียบตำแหน่งเข้าสู่ชั้นยศ กล่าวคือ ชั้นประจำ
ตัวข้าราชการจะมี 5 ชั้น คือ ชั้นจัตวา ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก และชั้นพิเศษ กำหนดเงินเดือนให้
ได้รับตามชั้นทั้ง 5 และกำหนดให้มีตำแหน่งหลัก 6 ตำแหน่ง คือ เสมียนพนักงาน ประจำแผนก
หัวหน้าแผนก หัวหน้ากอง อธิบดี และปลัดกระทรวง นอกจากนี้ยังกำหนดว่าตำแหน่งใดให้ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3