Page 299 - kpi17073
P. 299

298     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       2.  ให้มีการแยกการบริหารจากการเมืองอย่างเด็ดขาด เพื่อฝ่ายบริหาร (ข้าราชการ) จะได้
                  สามารถวางตัวเป็นกลางในทางการเมือง


                       ต่อมาประธานาธิบดีคนที่ 28 ของสหรัฐอเมริกา คือ Mr. Woodrow Wilson ได้เสนอ
                  แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารแยกจาการเมืองโดยเขียนบทความเรื่อง “The Study of Administration”

                  และเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1887 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้


                       1.  เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบบริหารให้มีประสิทธิภาพต้องแยกการบริหารออกจาก
                  การเมืองให้เด็ดขาด โดยฝ่ายการเมืองมีหน้าที่ในการออกกำหมาย กำหนดนโยบายสาธารณะ
                  ต่างๆ ฝ่ายบริหารมีหน้าที่นำเอานโยบายออกไปปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมาย และต้องมีความ

                  เป็นอิสระ ปลอดจากอิทธิพลในทางการเมือง ตั้งใจทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม
                  โปร่งใส โดยยึดหลักการบริหารที่ดีเป็นแนวทางในการทำงาน


                       2.  เพื่อผลิตเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีคุณภาพ ข้าราชการควรต้องผ่านการฝึกอบรมวิชาการ
                  บริหารงานของรัฐ เพื่อให้เป็นข้าราชการที่มีทักษะความรู้ ความสามารถ ในการคิดหาวิธีการ

                  ทำงานให้บรรลุผลได้อย่างดี


                       3.  ประชาชนต้องสนใจเรียนรู้ ติดตามการบริหารงานของรัฐ ทำหน้าที่เป็นตัวถ่วงดุลและ
                  ตรวจสอบการใช้อำนาจของข้าราชการและนักการเมือง เพื่อไม่ให้มีการใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล

                  ไม่ถูกต้องชอบธรรม และสื่อมวลชนต้องกล้าหาข่าวเชิงสบสวน เพื่อหาความจริงเผยแพร่ให้สังคม
                  ได้รับรู้และกดดันไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรม


                       จะเห็นได้ว่าอำนาจหน้าที่ของฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำของสหรัฐอเมริกาเหมือน
                  กับประเทศไทย คือ ฝ่ายการเมืองเป็นผู้กำหนดนโยบาย ส่วนข้าราชการประจำเป็นผู้นำนโยบาย
                  ไปปฏิบัติ ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ตามกรอบอำนาจของตัวเอง และเมื่อเกิดการก้าวก่ายในอำนาจ

                  หน้าที่ของกันและกันแล้ว จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องของการ
                  ทุจริตคอร์รัปชั่น จึงต้องนำมาสู่การปฏิรูประบบราชการของสหรัฐอเมริกาในที่สุด โดยมีการ

                  แบ่งแยกอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำเป็นกฎหมายอย่างชัดเจน เพื่อ
                  ป้องกันไม่ให้แต่ละฝ่ายก้าวก่ายอำนาจซึ่งกันและกัน


                       นอกจากนี้ ศ. ดร.วิษณุ  เครืองาม ได้กล่าวถึง ความสัมพันธ์ของข้าราชการประจำ
                  และข้าราชการการเมืองในอดีตก่อนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองต่างฝ่ายก็ต่างปฏิบัติงาน

                  ในหน้าที่ของตนไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกัน โดยฝ่ายข้าราชการประจำมีปลัดทูลฉลองเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
                  ส่วนข้าราชการการเมืองมีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด เสนาบดีจะว่าการเฉพาะ Policy ส่วน

                  ราชการทั้งปวงให้ขึ้นตรงต่อปลัดทูลฉลอง การแต่งตั้งโยกย้ายเป็นภาระของปลัดทูลฉลอง แต่หลัง
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   กฎหมาย ทำให้เกิดระบบข้าราชการการเมืองขึ้น มีการกำหนด อำนาจ หน้าที่ และสิทธิประโยชน์
                  จากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สถานะข้าราชการฝ่ายการเมืองก็เปลี่ยนไป มีการปรับปรุง


                  ของข้าราชการการเมืองในทางกฎหมาย ความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายเริ่มมีความสัมพันธ์ใน
                  รูปแบบใหม่ ข้าราชการแต่ละฝ่ายต่างก็พยายามนำสิ่งที่เห็นว่าเป็นส่วนดี หรือผลประโยชน์ของ
   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304